ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 ระบุว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดเล็ก มีมติให้คงกำหนดพื้นที่สถานการณ์คงเดิม คือ ‘ยังไม่มีพื้นที่สีแดง’

แม้ขณะนี้มีการระบาดของโควิด-19 อีกระลอก มีผู้ติดเชื้อจำนวนเพิ่มขึ้นหลักร้อยคนต่อวัน แต่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยังไม่มีประกาศให้จังหวัดใดเป็น “พื้นที่สีแดง” มีเพียงกำหนดจังหวัดพื้นที่สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว ตามเดิมดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมมี 9 จังหวัด (พื้นที่สีส้ม) ได้แก่ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ตาก ราชบุรี
  • พื้นที่เฝ้าระวังสูง 14 จังหวัด (พื้นที่สีเหลือง) ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ระนอง ชลบุรี ระยอง ชุมพร สงขลา ยะลา นราธิวาส
  • ส่วนที่เหลือ 53 จังหวัด (พื้นที่สีเขียว) เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง


นั่นคือข้อมูลจากส่วนกลางที่ย้ำว่า ขณะนี้ ‘ยังไม่มีพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด’ ส่วนมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดกำหนดตามความเหมาะสม

เช็กมาตรการ "กักตัวโควิด" เดินทางข้ามจังหวัดช่วงสงกรานต์


เพราะนโยบายและมาตรการกระจัดกระจาย แต่ไม่มีข้อห้ามจริงแท้และชัดเจน โดยทางปฏิบัติแล้ว ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกข้ามจังหวัดได้ ด้าน นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก็ยืนยันว่า ยังไม่มีการห้ามเดินทางเข้าออก แต่ให้อำนาจแต่ละจังหวัดกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยของคนในพื้นที่ได้เอง


และเนื่องจากมีทั้งนโยบายจาก ศบค. รัฐบาล ส่วนกลาง และมาตรการรายจังหวัด ทำให้เราๆ ท่านๆ ผู้ประสงค์เดินทางเกิดคำถามชวนสับสน กับสถานการณ์รับมือโรคระบาดแบบแยกย้ายกันคิดชนิดตัวใครตัวมัน เดินทางข้ามจังหวัดต้องกักตัวไหม มาตรการเข้า-ออกของแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร เรามาลองสำรวจตัวอย่างมาตรการบางจังหวัด ว่าสิ่งที่ควรปฏิบัติคืออะไรกันแน่

...

(หมายเหตุ: ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงรายวัน)

ภาคเหนือ


กำแพงเพชร
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน

ประกาศสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 กำหนดพื้นที่เสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมาจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน แล้วสแกน QR Code เมื่อรายงานตัว และให้กักกันตัวเอง 14 วัน

อ้างอิง: http://123.242.164.5/Web/Covid-19/doc/202104071.png


เชียงใหม่
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน


ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แถลงเมื่อวันที่ 8 เมษายนว่า สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ ต้องลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน CM Chana และต้องกักตัว (Home Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ขอความร่วมมืองดการเดินทางโดยไม่จำเป็น

อ้างอิง: https://www.facebook.com/Chiangmaidatacenter/posts/323649639280132


ตาก
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน

คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 ระบุว่า ผู้ที่เดินทางเข้าพำนักค้างในจังหวัดตาก โดยมาจากพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จะต้องกักกันตัวเอง 14 วันที่บ้าน และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 9 - 18 เมษายน 2564

อ้างอิง: http://web.tak.go.th/upload/files/U-1617956518.PDF


น่าน
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านกำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ 5 จังหวัด กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม หรือตามประกาศพื้นที่จังหวัดเพิ่มเติมของจังหวัดน่าน ต้องกักตนเองในที่พักภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นเวลา 14 วัน ยกเว้นผู้ได้รับวัคซีนและแสดงเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน ส่วนผู้เดินทางมาจากพื้นที่อื่นให้เฝ้าสังเกตอาการตนเอง 14 วัน หากมีอาการที่ผิดปกติ ให้ติดต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขทันที

กรณีผู้ที่เดินทางเข้าจังหวัดน่าน และจะต้องกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วัน หากมีความจำเป็นต้องเดินทางออกจากจังหวัดน่านก่อนครบกำหนดในการกักกันตัวเอง ให้ติดต่อสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อพิจารณาออกหนังสือรับรองให้เดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดน่านก่อนครบระยะเวลา

ที่มา: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210409051754886

...


พะเยา

แนวปฏิบัติ: รายงานตัว และอาจต้องกักตัว 14 วัน

คำสั่งจังหวัดพะเยา ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 ระบุว่า ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเข้ารับการตรวจเชื้อ เว้นแต่ผู้เดินทางนั้นมีผลการตรวจแล้วว่าไม่พบเชื้อโควิด และไม่ป่วยในช่วง 14 วันก่อนเดินทาง หรือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดแล้ว

กรณีเดินทางจาก กรุงเทพณ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หากเจ้าหน้าที่ประเมินว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ให้กักตัวที่บ้าน 14 วัน


อ้างอิง: http://mooyopapee.com/nboard/viewtopic.php?f=159&t=40866
http://mooyopapee.com/nboard/viewtopic.php?f=159&t=40854


เพชรบูรณ์
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่ 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน และห้ามเดินทางเข้าออกจังหวัด


จังหวัดเพชรบูรณ์ ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายนว่า ผู้เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด 5 จังหวัด กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ทันทีที่เดินทางมาถึง และกักตัว 14 วัน
ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดพื้นที่สีส้ม ให้สังเกตอาการ หากผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือประชาชน งดเดินทางเข้าออกจังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 9-18 เมษายน 2564

อ้างอิง: http://phetchabun.go.th/pbn_covid/download/notice/23_07042564.pdf


แพร่
แนวปฏิบัติ: มาจาก 10 จังหวัด ต้องกักตัว 14 วัน

...

สำนักงานสาธารณสุขแพร่ ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน เวลา 18.00 น. กำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจาก 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว และเชียงใหม่ ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และบุคลากรสาธารณสุขหรือ อสม. ในพื้นที่ และต้องกักตัวที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน

อ้างอิง: http://phrae.go.th/covid/img/thai-02.jpg


ลำพูน
แนวปฏิบัติ: มาจาก 8 จังหวัด ต้องกักตัว 14 วัน

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน ระบุว่า ผู้ที่เดินทางมาจาก 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว ให้กักตัวที่บ้าน 14 วัน


อ้างอิง: http://www.lamphun.go.th/th/advertise/249/คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน-covid-19



อุทัยธานี
แนวปฏิบัติ: มาจาก 12 จังหวัด ต้องกักตัว 14 วัน

คำสั่งจังหวัดอุทัยธานี ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 กำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจาก 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ตาก ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร เชียงใหม่ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ให้กักตัวที่บ้าน 14 วัน

อ้างอิง: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=465203668232098&id=115070913245377

...



ภาคกลาง



พระนครศรีอยุธยา
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด สแกน QR code เฝ้าระวังอาการ

มาตรการเมื่อวันที่ 9 เมษายนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแยกประเภทของการสแกน QR code เป็นสองกลุ่ม คือพนักงานของรัฐและประชาชน โดยข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เดินทางเข้ามาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดต้องรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด หลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ และสังเกตอาการตนเอง 14 วัน

สำหรับประชาชนที่เดินทางเข้ามาในจังหวัด ให้สแกน QR code และใช้แอปพลิเคชั่น ‘หมอชนะ’ รายงานตัวกบผู้นำชุมชน สังเกตอาการตนเอง 14 วัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นและเข้าที่ชุมขน หากไม่สามารถสแกน QR code ได้ หรือลงทะเบียนหมอชนะไม่ได้ื ให้รายงานข้อมูลการเดินทางต่อด่านตรวจหรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

อ้างอิง: https://covid.ayutthaya.go.th/measure_news/detail/15/data.html


ปทุมธานี
แนวปฏิบัติ: ติดตั้งแอปพลิเคชั่น เฝ้าระวังอาการ


สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีแยกมาตรการเป็นดินทางออกจากจังหวัด และเดินทางเข้ามาในจังหวัด ผู้เดินทางออกจากจังหวัดจะถูกสอบถามมาตรการของจังหวัดปลายทาง และติดตั้งแอปพลิเคชั่น ‘หมอชนะ’ หรือ ‘ไทยชนะ’ เพื่อบันทึกการเดินทาง

ส่วนผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หรือหน่วยงานต้นสังกัด ติดตั้งแอปพลิเคชั่นบันทึกการเดินทาง ปฏิบัติตามมาตรการควบคุม สวมหน้ากาก ล้างมือ จากนั้นสังเกตอาการตนเอง 14 วัน หากพบอาการผิดปกติ ไข้ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

ที่มา: https://web.facebook.com/pte.moph/


ชัยนาท
แนวปฏิบัติ: มาจาก 6 จังหวัด อาจต้องกักตัว 14 วัน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ประกาศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ระบุว่า ผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ให้ทำบันทึกขออนุญาต เข้าและออก ผ่านช่องทาง Chainat to Go http://203.157.210.2/covid-19/ และประเมินความเสี่ยง หากผลประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง ให้กักตัวที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน

สระบุรี
แนวปฏิบัติ: เดินทางมาจาก 6 จังหวัดอาจต้องกักตัว 14 วัน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เชียงใหม่ ชลบุรี แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน กรณีที่เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต ให้เฝ้าระวัง 14 วันและตรวจหาเชื้อโควิด-19

อ้างอิง:
https://covid.saraburi.go.th/files/com_announce_news/2020-05_8879e259ee5a848.jpg

สิงห์บุรี
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่เสี่ยง กักตัว 14 วัน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี ประกาศเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ว่า ผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดสมุทรสาคร (ทุกอำเภอ) กรุงเทพฯ (เขตบางขุนเทียน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม วัฒนา บึงกุ่ม ประเวศ ดุสิต พญาไท ดอนเมือง สวนหลวง ห้วยขวาง คลองสามวา คลองเตย จตุจักร ลาดกระบัง มีนบุรี) จังหวัดนครปฐม (ทุกอำเภอ ยกเว้นดอนตูม) จังหวัดตาก (อำเภอแม่สอด) จังหวัดนนทบุรี (อำเภอบางใหญ่) จังหวัดปทุมธานี (อำเภอเมืองธัญบุรี คลองหลวง ลำลูกกา) จังหวัดสุพรรณบุรี (อำเภอเมือง) จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอบางพลี) ให้ลงทะเบียนเข้าจังหวัดสิงห์บุรี รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ และกักตัวที่บ้าน 14 วัน


อ้างอิง:
http://www.singburi.go.th/covid19/archives/category/มาตรการเข้าออก


ภาคอีสาน


บุรีรัมย์
แนวปฏิบัติ: แบ่งสีพื้นที่เพื่อกักตัวและเฝ้าระวัง


จังหวัดบุรีรัมย์ ออกประกาศเมื่อวันที่ 6 เมษายนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ มีมติเห็นชอบการประกาศกำหนดเขตพื้นที่จังหวัดของผู้เดินทางเข้ามาแยกเป็นสี ดังนี้


สีแดง 5 จังหวัด: กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม
สีส้ม 9 จังหวัด: สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชุมพร ตาก ราชบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี นราธิวาส และกาญจนบุรี
สีเหลือง 10 จังหวัด: อยุธยา สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ระนอง ระยอง สงขลา ยะลา และขอนแก่น
สีเขียว อีก 53 จังหวัด นอกเหนือจากรายชื่อข้างต้น

สำหรับผู้เดินทางมาจากพื้นที่สีแดง (ตามเกณฑ์บุรีรัมย์) กรุงเทพฯ ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม และนนทบุรี ต้องกักตัว 14 วัน หรือขอตรวจ rapid test ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ หากผลการทดสอบเป็นลบ ไม่ต้องกักตัว

อ้างอิง: https://web.facebook.com/photo?fbid=4450655278284275&set=pcb.4450655531617583


บึงกาฬ
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่ 5 จังหวัด กักตัว 10 วัน

จังหวัดบึงกาฬ ออกประกาศให้ประชาชนที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม กักตัวในบ้านพักไม่น้อยกว่า 10 วัน สำหรับประชาชนที่เดินทางโดยรถขนส่งสาธารณะประจำทาง ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง ณ สถานีขนส่งในพื้นที่ปลายทางเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และสำหรับผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม กักตัวในบ้านพักไม่น้อยกว่า 10 วัน


อ้างอิง: https://www.facebook.com/RADIOBUENGKAN104.25MHZ/posts/759894748049317

นครราชสีมา
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด ให้รายงานตัว ไม่ต้องกักตัว


คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ประกาศเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาว่า ผู้ที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ต้องรายงานตัวกับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภายใน 12 ชั่วโมง นับตั้งแต่เดินทางมาถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นผู้นำชุมชน หรือ อสม.ต้องรายงานข้อมูลต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในวันเดียวกันหรือวันรุ่งขึ้น หากได้รับแจ้งในช่วงกลางคืน

หากคัดกรองแล้ว พบว่าบุคคลนั้นเกี่ยวข้องกับพื้นที่เสี่ยงในไทม์ไลน์ ให้กักตัว 14 วัน

อ้างอิง: https://covid-19.nakhonratchasima.go.th/files/com_announce/2021-04_2568a7c4841e907.pdf


ขอนแก่น
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด ให้รายงานตัว ไม่ต้องกักตัว


ข้อแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดขอนแก่น สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และ นครปฐม รายงานตัวกับผู้นำชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปฏิบัติตามาตรการป้องกัน เว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากาก หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ชุมชน

ส่วนการกักตัว เฟซบุ๊กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น แจ้งไว้เมื่อวันที่ 8 เมษายนว่า "ให้กักตัวที่บ้านในช่วงเวลาที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น (ไม่ใช่กักตัว 14 วัน)" และ "ท่านสามารถเดินทางออกจากขอนแก่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ครบ 14 วัน"

อ้างอิง: https://web.facebook.com/kkpho.go.th

สุรินทร์
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด ให้รายงานตัว ไม่ต้องกักตัว


ก่อนหน้านี้ จังหวัดสุรินทร์ เคยมีมาตรการกักตัว 14 วันสำหรับผู้เดินทางมาจาก 5 จังหวัด กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม รายงานตัวกับเจ้าพนักงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเมื่อเดินทางมาถึง และทำการกักตัว ณ ที่พักอาศัย 14 วัน

แต่ช่วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายน เพจสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ออกมาแก้ไขมาตรการใหม่ว่า “วันนี้ (8 เม.ย 64) ศบค. แถลงยังคงสถานการณ์ตามเดิม (ไม่มีพื้นที่สีแดง) โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการที่จังหวัดกำหนดอย่างเคร่งครัด จังหวัดสุรินทร์ จึงยังไม่มีคำสั่งมาตรการกักตัว 14 วัน สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโควิด-19”

ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) 9 จังหวัด ให้ไปรายงานตัวกับเจ้าพนักงานปกครอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีที่เดินทางมาถึง

อ้างอิง: https://web.facebook.com/prsurin2


ร้อยเอ็ด
แนวปฏิบัติ: สังเกตตัวเอง ไม่ต้องกักตัว

จากประกาศของจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่องมาตรการป้องกันควบคุมโรคฯ ลงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ระบุ การเดินทางข้ามจังหวัดยังทำได้ สำหรับผู้ที่เดินทางพื้นที่ควบคุม 9 จังหวัด (พื้นที่สีส้ม) ให้สังเกตตัวเอง 14 วัน นอกเหนือจากนี้ หากสอบสวนโรคพบมีประวัติปัจจัยเสี่ยงสูง ให้กักตัว 14 วัน

อ้างอิง: https://www.roiet.go.th/upload/file/20210404131210File.pdf


ภาคใต้

สงขลา
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่ 5 จังหวัด กักตัว 14 วัน

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน ระบุว่า ผู้ที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ กรุงเทพฯ (เฉพาะเขตวัฒนา เขตคลองเตย และเขตบางแค) ต้องกักตัว 14 วัน ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่

ส่วนพื้นที่เขตอื่นของกรุงเทพฯ นับรวมกับสมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ชุมพร ตาก ราชบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี นราธิวาส ให้อยู่ในมาตรการดูแลตนเอง 14 วัน และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ หากผู้เดินทางมาจากพื้นที่ข้างต้นมีเหตุจำเป็นต้องเดินทางก่อนระยะเวลา 14 วัน ให้มีหนังสือรับรองการตรวจโควิด-19 ซึ่งมีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง และให้เดินทางกลับโดยเร็ว
อ้างอิง: https://web.facebook.com/radiosongkhla1/


ชุมพร
แนวปฏิบัติ: สแกน QR Code พิจารณาการกักตัว

วันที่ 7 เมษายน จังหวัดชุมพรออกมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยกำหนดให้ชุมพรเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูง ประชาชนที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดชุมพร ต้องกรอกข้อมูลประเมินความเสี่ยงแก่หน่วยรับบริการสาธารณสุข โดยการสแกน QR Code ‘Save Chumphon’ จากนั้นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อจะดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อพิจารณาความเสี่ยง หากเจ้าพนักงานวินิจฉัยแล้วเห็นว่าเข้าเกณฑ์มีความเสี่ยง จะออกคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวกักตัว 14 วัน หากวินิจฉัยแล้วไม่เข้าเกณฑ์เป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ต้องสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 14 วัน

อ้างอิง: https://web.facebook.com/PRDchumphon/

ประจวบคีรีขันธ์
แนวปฏิบัติ: ไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เสี่ยง ไม่ต้องกักตัว


เฟซบุ๊กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้คำแนะนำเรื่องการเดินทางว่า หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่การระบาดสูงสุดที่กำหนดโดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ระบุเป็นรายชื่อคลัสเตอร์ต่างๆ หลายสิบแห่ง เช่น สถานบันเทิง ร้านอาหาร ตลาด ศูนย์การค้า ฯลฯ) ไม่ต้องกักตัว แต่ให้รักษามาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใส่หน้ากาก และรักษาระยะห่าง

อ้างอิง: https://web.facebook.com/ssjpcko/

ภูเก็ต
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด ให้รายงานตัว ไม่ต้องกักตัว

ข้อมูลจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 8 เมษายน ระบุว่า สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ไม่ต้องกักตัว แต่ให้ระมัดระวังตัว (Salf monitoring) และให้รายงานตัวที่ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ระดับตำบล (EOC ตำบล)

อ้างอิง: https://www.facebook.com/patomphong.khamvisat/posts/188104229788140

เพิ่มเติมข้อมูลเมื่อ 21.00 น. วันที่ 8 เมษายน 2564

นราธิวาส
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด รายงานตัว

ผู้ที่เดินทางมาจาก กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ให้รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำอำเภอ เพื่อคัดกรองว่าจะกักตัวหรือไม่รูปแบบใด

อ้างอิง: http://www2.narathiwat.go.th/nara2016/news/detail/1446

ยะลา
แนวปฏิบัติ: พิจารณาเป็นรายบุคคล

ทางจังหวัดยะลาไม่กำหนดให้ต้องกักตัว แต่หากใครเดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมให้พนักงานควบคุมโรคคัดกรอง และพิจารณาเป็นรายๆ ไป

อ้างอิง: http://www.yala.go.th/covid


ปัตตานี
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่สีส้ม รายงานตัว

ผู้ที่เดินทางมาจาก 9 จังหวัดพื้นที่ควบคุม กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครปฐม ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ตาก และพื้นที่เสี่ยงนราธิวาส ให้รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้พิจารณาคัดกรองและกักตัวตามความเหมาะสม

อ้างอิง: https://covid.pattani.go.th/announce/detail/92/data.html


สตูล
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่คลัสเตอร์เสี่ยง กักตัว 14 วัน

ให้ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง มีการระบาดแบบกลุ่มก้อน ให้รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกักตัวอยู่ในที่พัก 14 วัน

อ้างอิง: https://covid.satun.go.th/announce/detail/124


พัทลุง
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่สีส้ม รายงานตัว

ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุม 9 จังหวัด กรุงเทพฯ (เขตวัฒนา คลองเตย บางแค) สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครปฐม ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ตาก รายงานตัวต่อผประธานชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน อสม. และขอให้อยู่บ้าน ไม่ไปในพื้นที่ชุมชน

อ้างอิง: https://covid.phatthalung.go.th/announce/detail/60/data.html


ตรัง
แนวปฏิบัติ: มาจากพื้นที่ 4 จังหวัด กักตัว 14 วัน


ผู้ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ (เขตวัฒนา ห้วยขวาง ลาดพร้าว วังทองหลาง) สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรปราการ รายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และขอให้อยู่ที่บ้าน 14 วัน ยกเว้นมีใบแจ้งผลตรวจเชื้อแบบ RT-PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ว่าไม่ผลเชื้อ ไม่ต้องกักตัว หรือมาตรวจเชื้อที่โรงพยาบาลในจังหวัดตรัง หรือมีบัตรแสดงการฉีดวัคซีนแล้ว

ที่มา: http://covidtr.trang.go.th/announce/detail/83/data.html

นครศรีธรรมราช
แนวปฏิบัติ: ผู้สัมผัสผู้เสี่ยงสูง กักตัว 14 วัน

ผู้ที่เดินทางมาจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ และหากมาจากพื้นที่เสี่ยงมีการระบาดกลุ่มก้อน สัมผัสผู้ป่วย สัมผัสผู้เสี่ยงสูงให้กักตัว 14 วัน

อ้างอิง: http://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/nstcovid19.php

กระบี่
แนวปฏิบัติ: รายงานตัว

ผู้ที่เดินทางเข้ามาให้รายงานผ่านระบบออนไลน์ของจังหวัดกระบี่ หรือรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค

อ้างอิง: http://123.242.168.130/krabicovid/announce/detail/35

พังงา
แนวปฏิบัติ: มาจาก 5 จังหวัด อาจต้องกักตัว 14 วัน


สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ออกประกาศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ให้ผู้ที่เดินทางมาจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี ให้รายการตัวต่อประธานชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อสม. แล้วทำแบบประเมินความเสี่ยง หากมีประวัติเสี่ยง ให้กักตัวเองที่บ้าน 14 วัน

นอกจากนี้ คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ลงวันที่ 2 เมษายน 2564 กำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพฯ (เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตบางบอน เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน) จังหวัดปทุมธานี (อำเภอธัญบุรี) และจังหวัดตาก ให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในเขตเทศบาลหรือประธานชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เจ้าพนักงานฯ กำหนดมาตรการที่เหมาะสม หรือมาตรการกักตัว 14 วัน ตามแนวทางการประเมินความเสี่ยง ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2-30 เมษายน 2564

อ้างอิง:
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3828989457212099&set=pcb.3828334287277616
http://www.phangnga.go.th/main/attachments/article/1165/10122564.pdf

หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมถึง 14 เมษายน 2564 เวลา 21.00 น.