น้ำคือจุดเริ่มต้นของสรรพชีวิต จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทุกชีวิตต้องพึ่งพาสายน้ำสายเดียวกันเพื่อความราบรื่นในแต่ละวัน การรู้จักแหล่งกำเนิดสายน้ำที่แท้จริงและการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีระบบ จึงนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการทรัพยากรน้ำที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในโครงการที่เข้าไปลงมือทำอย่างจริงจังในหลายชุมชน ภายใต้ชื่อ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำให้ทั้งคนต้นน้ำและคนปลายน้ำได้เห็นว่าการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความสำคัญกับชีวิตอย่างไร

สายน้ำไทยยังต้องการการโอบอุ้มดูแล

‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ ริเริ่มขึ้นโดย ‘กลุ่มธุรกิจ TCP’ องค์กรของคนไทย ซึ่งเป็นเจ้าของ และผู้ผลิตเครื่องดื่มแบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม และเพียวริคุ ที่เห็นความสำคัญของน้ำ ไม่เพียงในแง่มุมของการเป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงคุณค่าต่อชีวิตในด้านต่างๆ ของทุกชีวิตในสังคม นั่นจึงเป็นเหตุผลให้กลุ่ม TCP กำหนดนโยบายทั้งภายในและภายนอกเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นสร้างการเติบโตของธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ในฐานะผู้ขับเคลื่อนองค์กรและร่วมผลักดันแนวคิดนี้ให้ดำเนินต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมกล่าวว่า การมุ่งสร้างกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกจิตสำนึกให้พนักงานเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นับเป็นการกำหนดนโยบายภายในองค์กรที่จำเป็น แต่เพราะเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในสังคมเดียวกัน การให้ความสำคัญกับภายนอกองค์กรก็มีความหมายอย่างมาก กลุ่มธุรกิจ TCP จึงริเริ่มโครงการที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายนอกที่เกี่ยวข้องกับน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนเป็นที่มาของ โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ที่จับมือทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำที่หลากหลาย ทั้งนี้ได้เริ่มใน 6 จังหวัดจากสองลุ่มน้ำ คือ จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิจิตร (ลุ่มน้ำยม) และสระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก (ลุ่มน้ำปราจีนบุรี)

โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย เป็นโครงการที่มีแผนการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ.2562 - 2566) โดยจะช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีน กว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร (หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ) ขณะเดียวกันการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนายังช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชนจากการมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจ TCP ได้วางเป้าหมายสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการไว้ราว 100 ล้านบาท

จับมือกัน เพื่อสายน้ำ ...เพื่อชีวิต

ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรน้ำ กลุ่มธุรกิจ TCP จึงเดินหน้าโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ครั้งแรก สู่ลุ่มน้ำยม จังหวัดแพร่ ซึ่งปัจจุบันลุ่มน้ำยมมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีราว 4,900 ล้าน ลบ.ม. แต่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียง 8.24% (หรือราว 400 ล้าน ลบ.ม./ปี) โดยได้ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) รวมถึงจิตอาสาภายในกลุ่มธุรกิจ TCP เพื่อมุ่งสร้างองค์ความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ก่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนตลอดทั้งลุ่มน้ำ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ให้แก่ชุมชนบ้านแม่ขมิง จังหวัดแพร่ เชื่อมแหล่งน้ำสู่พื้นที่เกษตรให้ได้มีน้ำใช้อย่างพอเพียง จนถึงบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง

ครั้งนี้จิตอาสายังได้ร่วมเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ และทำกิจกรรมปรับปรุงระบบส่งน้ำ อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา ที่ใช้ผันน้ำจากแหล่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเรียกว่า ‘แตต๊าง’ อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น “แต” เป็นทำนบหรือประตูน้ำที่แยกจากฝายเข้าสู่เหมืองขนาดเล็ก “ต๊าง” เป็นประตูน้ำเล็กแยกน้ำจากแตไปสู่ไร่นา ซึ่งการเดินทางมายังพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ขมิง จังหวัดแพร่ ในครั้งนี้ จึงนับเป็นอีกครั้งที่ทีมงานในโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย และเหล่าจิตอาสา ได้สัมผัสด้วยสายตาและหัวใจว่า สายน้ำมีคุณค่าเพียงใดต่อชีวิต และการร่วมลงแรงลงใจในครั้งนี้จะส่งผลยิ่งใหญ่เพียงใดต่อทุกสรรพชีวิตในสังคมนี้

ติดตามข้อมูลดีๆ และการลงมือทำดีเพื่อสายน้ำจากโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย เพิ่มเติมได้ที่ www.tcp.com และ https://www.facebook.com/TCPGroupThailand