5 กรกฎาคม ของทุกปี...ตรงกับวันขีดเส้นตาย “ชำระหนี้กยศ.” รุ่นพี่ทั้งหลายที่ยังมียอดชำระคงค้าง อย่าลืมไปเคลียร์ภาระหนี้ให้เรียบร้อย เพื่อนำเงินไปต่อยอดสานฝันทางการศึกษาให้รุ่นน้องในรุ่นต่อๆ ไป
ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงวิธีการ “เช็กยอดหนี้กยศ.” แบบง่ายๆ ใช้เวลาแป๊บเดียว ได้รู้ยอด วิ่งไปชำระทันท่วงที!
1.กดเข้าเว็บไซต์ https://www.studentloan.or.th
2.คลิก > ตรวจสอบยอดหนี้ > ตรวจสอบยอดหนี้ (ธนาคารกรุงไทย)
3.คลิก > ลงทะเบียน จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบทุกช่อง โดยใส่วันเดือนปีเกิด (ปี พ.ศ.) วันและเดือน กรอกเลข 2 หลัก ส่วนคำตอบข้อ 1-3 กรอกเป็นปี พ.ศ.
...
4.จากนั้น ใส่อีเมลที่ท่านใช้งาน ใส่รหัสผ่าน ยืนยันรหัสผ่าน ใส่เบอร์โทรศัพท์ (รหัสผ่านต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร, อักขระพิเศษอย่างน้อย 1 ตัวอักษร, อักษรภาษาอังกฤษ ทั้งตัวพิมพ์เล็ก และตัวพิมพ์ใหญ่, ตัวเลขอารบิกอย่างน้อย 1 หมายเลข)
5.ผู้ลงทะเบียนจะได้รับอีเมล หรือ sms(กรณีระบุเบอร์โทรศัพท์) รหัส OTP
6.กรอกรหัส OTP ที่ได้รับ และกด Confirm
7.เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ระบบจะแจ้งข้อความ “ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว”
8.คลิก > “จบการทำงาน” จากนั้นระบบจะเข้าสู่หน้าจอหลัก เว็บสอบถามรายละเอียดผู้กู้
จากนั้นท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบตรวจสอบยอดหนี้ โดยใช้อีเมล และรหัสผ่าน ที่ท่านใช้สมัคร
...
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมต้องการขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนฯ จะมีวิธีการอย่างไร?
การขอผ่อนผันการชำระหนี้สามารถทำได้ แต่จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ทางกองทุนฯ กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
1.เป็นผู้ไม่มีรายได้
2.เป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน
3.เป็นผู้ประสบภัยพิบัติจาก อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัยจากธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงภัยจากสงคราม หรือจลาจล ซึ่งทรัพย์สินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
4.เป็นผู้มีรายได้ถดถอย หรือเป็นผู้ดูแลบุคคลในครอบครัว ชรา ป่วย พิการ
หมายเหตุ : ผู้กู้ยืมที่ประสงค์ขอผ่อนผันชำระหนี้จะต้องไม่มียอดหนี้ค้างชำระ โดยดาวน์โหลดแบบ กยศ. 202/58 และ กยศ.203/58 นำไปยื่นที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานกองทุน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ แต่ละงวด (5 กรกฎาคมของทุกปี) หากผู้กู้ยืมเงินยังไม่ชำระและพ้นวันที่ครบกำหนดชำระไปแล้ว ผู้กู้ยืมเงินจะมีสถานะเป็นผู้ค้างชำระหนี้
...
ชำระเกินกำหนด มีผลอย่างไร?
ส่วนผู้ที่ชำระเกินวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ระบุไว้ดังต่อไปนี้
- หากผู้กู้ยืมชำระล่าช้าจะทำให้ต้องเสียเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ ในอัตราร้อยละ 12-18 ต่อปี โดยคิดจากฐานเงินต้นที่ขอกู้ยืม
- ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่ค้างชำระหนี้ อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้
- โดยขั้นตอนของการดำเนินคดีมีดังนี้
1.กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งรายชื่อให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยดำเนินคดี
2.บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)
3.เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
4.ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น
หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป.