นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ในปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2561 ถึง 31 มี.ค.2562 พบว่า มีผู้ถูกกระทำความรุนแรง 1,685 คน แบ่งเป็น 1.ความรุนแรงในครอบครัว 1,149 คน แยกเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน 492 คน ถูกทำร้าย 347 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 95 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 17 คน ทารกถูกทอดทิ้งในที่สาธารณะ 33 คน กลุ่มสตรี 550 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 544 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 5 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 1 คน กลุ่มผู้สูงอายุ 102 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 101 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 1 คน และกลุ่มคนพิการ 46 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 42 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 4 คน และ 2.ความรุนแรงภายนอกครอบครัว 536 คน แบ่งเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน 377 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 104 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 216 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 57 คน กลุ่มสตรี 113 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 73 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 19 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 21 คน กลุ่มผู้สูงอายุ 32 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 24 คน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 6 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 2 คน และกลุ่มคนพิการ 25 คน ถูกทำร้ายร่างกาย 9 คน ถูกล่วงละเมิด
ทางเพศ 12 คน ถูกลวนลาม กระทำอนาจาร 4 คน

นายเลิศปัญญากล่าวอีกว่า ความรุนแรงในครอบครัวอันดับ 1 คือการทำร้ายร่างกาย โดยปัจจัยเกิดจากการดื่มสุรา ยาเสพติด หึงหวง ความไม่เข้าใจกัน ขณะที่การล่วงละเมิดทางเพศในเด็กเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของคนใกล้ชิด สถานที่เกิดเหตุคือภายในบ้าน ดังนั้น บ้านจึงเป็นสถานที่ไม่น่าอยู่สำหรับเด็ก และการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ คือต้องปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้การไม่ละเมิดสิทธิในร่างกายผู้อื่น และมีบทลงโทษที่รุนแรง ทั้งการทำร้ายร่างกายในครอบครัวเป็นคดีอาญาทั้งหมด ใครพบเห็นต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นแล้วอย่าอยู่นิ่ง หากทุกคนเข้าใจกฎหมาย เชื่อว่าความรุนแรงในครอบครัวจะลดน้อยลง เนื่องจากทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน.

...