ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูเปิดกรีดหน้ายาง แต่อยู่ในท่ามกลางปัญหาราคายางและคุณภาพของผลผลิตยาง...!

เมื่อผนวกกับชาวสวนยางพารา โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานยังอยู่ในวิถีดั้งเดิม ส่วนใหญ่นิยมผลิต ยางก้อนถ้วย ด้วยขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งจำหน่ายได้รวดเร็ว

แต่เพราะยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบสำคัญใช้ผลิตยางแท่ง ใช้ในวงการอุตสาหกรรมผลิตยางล้อ บริษัทผู้ผลิตยางล้อจึงมองว่า ในกระบวนการผลิตยางก้อนถ้วยให้ได้คุณภาพดีวิธีการหนึ่ง คือ การใช้กรดฟอร์มิก

เพราะจากการรับซื้อยางแท่งจากประเทศไทย พบว่ายังขาดคุณภาพ มีระดับซัลเฟตในปริมาณสูง เกษตรกรยังใช้กรดซัลฟิวริกในกระบวนการผลิตยางก้อน เมื่อนำไปผลิตล้อยางจึงมีปัญหาตามมา

ด้วยเหตุนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นผล โดยให้คำแนะนำวิธีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตจากการใช้กรดฟอร์มิกทดแทนกรดซัลฟิวริกแบบเดิมๆ เชื่อว่าน่าจะช่วยให้ได้ยางก้อนถ้วยมีคุณภาพได้

ช่วงนี้เอง บริษัท เกษตรไทยไชโย จำกัด โดย นายวีรวัฒน์ ยมจินดา ประธานบริษัทผู้ผลิตกรดหยอดยางฟอร์มิก ตราแรด จึงขอมีส่วนร่วมให้คำแนะนำ การพัฒนาคุณภาพผลผลิตยางให้มีคุณภาพ

โดยตลอดปี 2561 กำหนดจัดกิจกรรมออกให้ความรู้ วิธีการผลิตยางพาราคุณภาพทุกรูปแบบ ตั้งแต่น้ำยางสด ยางแผ่นรมควัน หรือยางก้อนถ้วย ผ่านทางสหกรณ์ต่างๆทุกจังหวัดที่มีความสนใจ

แต่ละครั้งจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์ไปให้ความรู้ฟรี ผู้สนใจติดต่อได้ โทร.09-2824-4383 ทั้งหลายทั้งปวงบริษัทเชื่อว่า การใช้กรดฟอร์มิก ช่วยให้ชาวสวนไม่ต้องทนกับกรดร้อนทั้งแสบและร้อนมือ

อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง เปลือกยางแข็งจากไอน้ำกรดที่ระเหยบนหน้ายาง ส่งผลให้น้ำยางไม่หยุดไหล ด้วยเพราะเป็นกรดเย็นไม่ทำลายท่อน้ำยาง แต่ช่วยเพิ่มน้ำหนักยางถึงร้อยละ 15 เห็นผลแล้วหลายแห่ง

...

เกษตรกรไทยยุคใหม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี...ถ้าไม่ลองคงไม่รู้ ใช้แล้วได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจหรือไม่....!

ทีมข่าวภูมิภาค /รายงาน