เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวล พบตัววอลรัส กว่า 35,000 ตัว เกยตื้นบนชายหาดอะแลสกา ผู้เชี่ยวชาญคาดเกิดจากสภาวะโลกร้อน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันพุธ (1 ต.ค.) ว่า ทางการสหรัฐฯ พบฝูงวอลรัสกว่า 35,000 ตัว ว่ายมาเกยตื้นบริเวณพื้นที่ควบคุมแนวชายฝั่งอะแลสกา ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากปรากฏการณ์น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกละลาย เนื่องจากสภาวะโลกร้อน

โดยนายเมแกน เฟอร์กูสัน เจ้าหน้าที่สำนักงานสำรวจประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางอากาศ บริเวณมหาสมุทรอาร์กติก ให้ข้อมูลว่า ในช่วงแรกมีตัววอลรัส เพียง 1,500 ตัวเท่านั้น ที่ว่ายน้ำมาเกยตื้นในบริเวณนี้ แต่จำนวนตัววอลรัสได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

ส่วนสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) ชี้ว่า การที่ตัววอลรัสว่ายน้ำมาเกยบนชายฝั่งเช่นนี้ ทำให้ลูกวอลรัสเสี่ยงต่อการตาย เนื่องจากโดนตัวอื่นเหยียบ และปกติฝูงวอลรัสจะไปรวมตัวกันที่แผ่นน้ำแข็งที่อยู่ใกล้กับแหล่งอาหารมากกว่าบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้ ช่วงฤดูร้อนแผ่นน้ำแข็งในทะเลชุกชี ซึ่งอยู่บริเวณน่านน้ำสหรัฐฯ และรัสเซีย ยังมีปริมาณที่ลดลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นมา 10 ปีแล้ว

...

นายเฟอร์กูสัน ชี้ว่า เคยพบหมีสีน้ำตาลจำนวนมากบริเวณชายฝั่งแห่งนี้เช่นเดียวกัน ขณะที่วาฬสีเทา ซึ่งเคยหากินอยู่ในบริเวณนี้ก็หายไปในปี 2533

ทั้งนี้ ตัววอลรัส เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีเขี้ยวยาว มักอาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิก