ประเด็นการเมืองในไทยช่วงนี้ คงหนีไม่พ้น เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญในปมที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยออกมาแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องลักษณะนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจ ที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นต้นแบบของระบอบประชาธิบไตยมากที่สุด อย่างสหรัฐอเมริกาเอง ก็ประสบเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน หลังมีการผ่านกฎหมายรับรองการแต่งตั้งผู้พิพากษา ซึ่งอยู่ในฝ่ายตุลาการ

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านกฎหมายเปลี่ยนแปลงระเบียบการประชุม เรื่องการรับรองการแต่งตั้งผู้พิพากษาจาก ประธานาธิบดี โดยลดจำนวนเสียงของสมาชิกวุฒิสภา หรือ สภาสูง จาก 60 เสียง เหลือเพียง 50 เสียง แต่ไม่รวมการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยังคงจำเป็นต้องใช้ทั้งหมด 60 เสียง


และไม่กี่วันหลังการเปลี่ยนแปลง วุฒิสมาชิกได้รับรองการแต่งตั้งนาง แพทริเซีย มิลเล็ท เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของรัฐวอชิงตันดีซี ด้วยคะแนนเสียง 55 ต่อ 45 หากเทียบให้เห็นชัดยิ่งขึ้นจะพบว่าแต่เดิมตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ฝ่ายตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย ศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ และศาลฎีกา

ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหาร หลังจากวินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนการแต่งตั้งผู้พิพากษา ศาลฎีกา นั้น ประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์ มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งดำรงตำแหน่งได้ โดยไม่มีการกำหนดวาระ

ขณะที่นาย บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาแถลงสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายนี้ แต่นาย มิทช์ แม็คคอเนล ผู้นำเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกันโต้กลับว่า ประธานาธิบดีโอบามา กำลังจะพึ่งอำนาจตุลาการในการผ่านกฎหมาย โดยใช้การแต่งตั้งเป็นเครื่องมือ เนื่องจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

...


ด้านนักวิเคราะห์การเมือง มองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถือเป็นดาบสองคม เพราะแม้กฎหมายจะช่วยให้ลดอำนาจของพรรครีพับลิกันได้ แต่หากพรรครีพับลิกัน ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และมีเสียงในวุฒิสภาเกินครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายและการแต่งตั้งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นในอนาคตเช่นกัน

นอกจากนี้จะทำให้กฎหมาย ที่ต้องผ่านมติจากสภาล่าง ซึ่งยังคงค้างอยู่หลายฉบับ เช่น กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายควบคุมการปล่อยแก๊ส กฎหมายการเงิน อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากรีพับลิกัน

ขณะเดียวกันยังเป็นการสะท้อนให้ เห็น ถึงความไร้เสถียรภาพ ในการร่วมมือกันของทั้งสองพรรค และแสดงถึงความแตกแยกที่เพิ่มมากขึ้นในการเมืองของสหรัฐฯ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การผลักดันกฎหมายประกันสุขภาพของประธานาธิบดีโอบามา หรือ โอบามาแคร์ ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากเสียงส่วนน้อย จนเกือบจะทำให้รัฐบาลกลาง ล้มละลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์


สหรัฐอเมริกา มีระบอบการปกครองในแบบสหพันธรัฐ ที่มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยแต่ละฝ่าย จะได้รับเลือกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน

โดยฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดี เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรก หลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ต้องมาจากการเลือกตั้ง ผ่านคณะผู้เลือกตั้ง 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี มีอำนาจเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูต และตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรีขึ้นไป

ส่วน ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี โดยวุฒิสภา มีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยตำแหน่ง ซึ่งคนปัจจุบัน คือนาย โจเซฟ โรบิเน็ท ไบเด็น ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา คือ นาย แฮรี่ รีด ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย มิทช์ แม็คคอเนล

...

ขณะ ที่ สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี

ด้านฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ และศาลฎีกา โดยศาลฎีกา มีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดี จะเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์ มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้ โดยไม่มีการกำหนดวาระ.