เผยโฉมดีไซน์สุดล้ำของสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของภูฏาน ที่ได้รับการออกแบบให้คล้ายกับ "เทือกเขา" คาดเปิดให้บริการในปี 2029

การฝึกสติเป็นหนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพในขณะนี้ โดยมีโรงแรม สปา และหลักสูตรต่างๆ ที่ทุ่มเทให้กับแนวคิดนี้ โดยประเทศภูฏานกำลังพัฒนาแนวคิดนี้ ด้วยการสร้างเมืองแห่งการฝึกสติขึ้นมาทั้งเมือง โดยเมืองเกเลพูในภาคใต้ของภูฏานใกล้กับพรมแดนอินเดีย ได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของเมืองนี้

บริษัทสถาปนิก Bjarke Ingels Group (BIG) ได้เปิดเผยการออกแบบท่าอากาศยานนานาชาติเกเลพู ที่กำลังจะเปิดในอนาคต โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเมืองและวิสัยทัศน์โดยรวมของเมืองให้มากที่สุดเท่าที่มีมา ภาพเรนเดอร์แสดงให้เห็นโครงสร้างไม้ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งทั้งหมดเป็นแบบโมดูลาร์ หรือหลักการออกแบบที่แบ่พื้นที่ออกเป็นส่วนย่อย ทำให้ปรับปรุงหรือขยายสนามบินได้ง่ายขึ้นในอนาคต

BIG กล่าวว่า มีการใช้องค์ประกอบจากธรรมชาติในการออกแบบ และนำเอาแนวคิดของภูฏานที่ว่า "ความสุขของคนทั้งชาติ" มาใช้ ซึ่งคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในการวัดคุณภาพชีวิต และกล่าวในแถลงการณ์ว่า "สนามบินเป็นความประทับใจแรกและครั้งสุดท้ายที่คุณได้รับจากสถานที่ที่คุณไปเยี่ยมชม"

"สถาปัตยกรรมของสนามบินประกอบด้วยโครงไม้แบบแยกส่วน ซึ่งให้ความยืดหยุ่นและขยายได้ คล้ายกับเทือกเขาที่ได้รับการออกแบบในระยะไกล ชิ้นส่วนไม้ทั้งหมดถูกแกะสลักและลงสีตามงานฝีมือดั้งเดิม ประดับด้วยมังกรสามประเภทที่เป็นตัวแทนของอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของภูฏาน ผลลัพธ์ที่ได้คือแบบดั้งเดิมแต่ล้ำสมัย ก้าวล้ำและหยั่งรากลึก"

สนามบินแห่งนี้จะมีปล่อยคาร์บอนเป็นลบ และใช้แผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงาน สนามบินนานาชาติ Gelephu จะมีพื้นที่ 68,000 ตารางเมตร และสามารถรองรับเที่ยวบินได้ 123 เที่ยวบินต่อวัน โดยรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1.3 ล้านคนต่อปี คาดเปิดให้บริการในปี 2029

...

แม้จะดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสนามบินขนาดใหญ่ เช่น สนามบินฮีทโธรว์ลอนดอน หรือสนามบินเจเอฟเคของนิวยอร์ก แต่สำหรับภูฏานซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแล้ว กลับถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยในปี 2019 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังสนามบินนานาชาติพาโร ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงทิมพูเพียง 316,000 คนเท่านั้น

ดีไซน์สุดล้ำ สนามบินใหม่ภูฏาน เตรียมเปิดบริการปี 2029

ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดจะเดินทางมาที่สนามบินนานาชาติพาโร และเนื่องจากสนามบินพาโรตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างยอดเขาหิมาลัยสองลูก ลมแรงในฤดูมรสุม และขาดไฟส่องสว่างบนรันเวย์ ทำให้มีเครื่องบินขนาดเล็กเพียงไม่กี่ลำต่อวันเท่านั้นที่บินเข้าหรือบินออก ซึ่งล้วนเป็นเที่ยวบินระยะสั้นจากเมืองใกล้เคียงในเอเชีย เช่น กรุงนิวเดลีและกรุงเทพฯ

สนามบินเกเลพูเป็นที่ตั้งของสนามบินในประเทศขนาดเล็กอยู่แล้ว แต่ได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ราบเรียบกว่า ซึ่งหมายความว่าจะมีพื้นที่สำหรับรันเวย์ที่ยาวกว่าซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้

เนื่องจากทำเลที่ตั้งที่สะดวกใกล้กับอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการทูตและหุ้นส่วนทางการค้าหลักของภูฏาน ทำให้เกเลพูเป็นสถานที่ยุทธศาสตร์สำหรับการเชื่อมโยงทางรถไฟและถนน

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน ทรงเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังโครงการเกเลพู เมืองแห่งสติ (Gelephu Mindfulness City) และทรงระบุในแถลงการณ์ว่า "สนามบินแห่งนี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ในฐานะศูนย์กลางธุรกิจ และยังเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญสำหรับความมั่นคงของชาติภูฏาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล"

ประเทศที่มีประชากรประมาณ 750,000 คน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวแบบ "มูลค่าสูงแต่ส่งผลกระทบต่ำ" นักท่องเที่ยวประเทศจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการพัฒนาอย่างยั่งยืนรายวันจำนวน 100 ดอลลาร์ ซึ่งจะนำไปใช้เป็นทุนในการดูแลสุขภาพ การศึกษา และบริการสาธารณะอื่นๆ ในภูฏาน.

ที่มา CNN

อ่านข่าวเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/news/foreign