อเมริกากลางและอเมริกาใต้เผชิญการระบาดอย่างหนักของเชื้อเดงกีในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 12.6 ล้านคน และเสียชีวิตถึง 7,700 ศพ
สำนักข่าวต่างประเทศายงาว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกีในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจนมากกว่า 12.6 ล้านรายแล้ว ตามการเปิดเผยขององค์การอนามัยแห่งทวีปอเมริกา (PAHO) มากว่าก่อนกว่า 3 เท่า และมีผู้เสียชีวิตถึง 7,700 ศพ ถือเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 2523
PAHO ระบุว่า บราซิล, อาร์เจนตินา, โคลอมเบีย ในอเมริกาใต้ กับเม็กซิโก ในอเมริกาเหนือ ได้รับผลกระทบจากเดงกีมากเป็นพิเศา และเป็นประเทศที่ผู้ติดเชื้อกับผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่
อนึ่ง เดงกีเป็นไวรัสก่อไข้เลือดออกที่แพร่โดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการ ไข้ขึ้น, ปวดหัวรุนแรง, เจ็บหลังดวงตา, เจ็บกล้ามเนื้อและข้อต่ก หรือเกิดผื่นตามร่างกาย ในกรณีเดงกีชนิดรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการปวดท้องรุนแรง, เหนื่อยล้า, อาเจียน มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
หลายประเทศอเมริกากลางและใต้ เริ่มแจกจ่ายวัคซีนต้านเชื้อเดงกีแล้ว ขณะที่บางประเทศอย่าง ฮอนดูรัส วางแผนจะเริ่มในปี 2568
ทั้งนี้ PAHO เรียกร้องผ่านแถลงการณ์ของพวกเขา ขอให้ประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาเพิ่มความพยายาม และความร่วมมือในการบรรเทาการระบาดให้มากขึ้น
ดร.จาร์บาส บาร์โบซา ผู้อำนวยการของ PAHO ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ เกี่ยวพันกับอากาศที่ร้อนขึ้นและชื้นขึ้น กอปรกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การสะสมของน้ำใกล้ที่อยู่อาศัย การจัดการน้ำเสียที่ไม่ดี ซึ่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี โดย ดร.บาร์โบซาเตือนด้วยว่า เด็กมีความเสียงต่อเชื้อเดงกีมากกว่าผู้ใหญ่
...
ข้อมูลของ PAHO ชี้ว่า กว่า 70% ของผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเดงกีในกัวเตมาลา เป็นเด็ก ขณะที่ในเม็กซิโก, คอสตาริกา และปารากวัย ผู้ป่วยอาการหนักกว่า 1 ใน 3 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี นอกจากนั้น เด็กกับคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อน มีโอกาสติดเชื้อเดงกี และป่วยอาการหนักได้ง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น
ติดตามข่าวต่างประเทศ : https://www.thairath.co.th/news/foreign
ที่มา : bbc