นายจาง จวิ้น ฝู ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ยังมองถึงความหวังที่จะมีส่วนร่วมในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ด้วยว่า การเร่งผลักดันนโยบายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และส่งเสริมการลงทุนสีเขียวให้มากยิ่งขึ้น ไม่เพียงจะเป็นการเสริมสร้างกำลังการแข่งขันของไต้หวันเท่านั้น

แต่ยังสอดคล้องกับมาตราที่ 9 ของความตกลงปารีส ที่ระบุให้มีการผลักดันประเทศที่พัฒนาแล้วสนองความต้องการด้านเงินทุนเพื่อสภาพภูมิอากาศจากแหล่งเงินต่างๆ

ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลไต้หวันได้แถลง “รายงานวิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ฉบับใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับท้องถิ่นและกระทรวงต่างๆ ในการปรับตัวระยะสั้นและระยะกลาง โดยให้มีระบบกำกับดูแลและกลไกการเตือนล่วงหน้า ยกระดับความยืดหยุ่นของสภาพแวดล้อมในเมืองต่างๆ รวมทั้งการสร้างระบบป้องกันภัยแบบหลายชั้น ตั้งแต่การเตือนภัย การรับมือภัยพิบัติและฟื้นฟูสร้างความยืดหยุ่นของถิ่นฐานแบบสามรวมหนึ่ง คือป้องกันภัย ปรับตัว และคาร์บอนเป็นศูนย์

ความรู้ความสามารถของไต้หวันด้านพลังงานหมุนเวียน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนวัตกรรมเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจกของไต้หวัน สามารถสนับสนุนการจัดการกับสภาพภูมิอากาศของโลกได้เป็นอย่างดี นวัตกรรมและการปฏิบัติจริงเป็นประเด็นสำคัญของปฏิบัติการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต จากการที่ไต้หวันดำเนินการกำหนดราคาคาร์บอนและการผลักดันเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ไต้หวันจะมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยผ่านการเสริมความแข็งแกร่งของนโยบายในประเทศ จึงขอเรียกร้องต่อประชาคมโลก โปรดสนับสนุนให้ไต้หวันมีส่วนร่วมใน UNFCCC และกลไกที่เกี่ยวข้องในความตกลงปารีส เพื่อจับมือกับประเทศต่างๆร่วมกันสร้างคุณูปการที่มากยิ่งขึ้นในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก.

...

ตุ๊ ปากเกร็ด

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม