ไม่มีใครอยากถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง โดยเฉพาะด้านความร่วมมือระดับนานาชาติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาล “ไต้หวัน” พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขอโอกาสเข้าร่วมกับองค์การต่างๆในเวทีสากล

และเป็นอีกครั้งในปีนี้ ที่นายจาง จวิ้น ฝู ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ฝากสารมายังสื่อมวลชน แสดงถึงความหวังที่จะมีส่วนร่วมในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งจัดขึ้นในทุกๆปี

ผู้แทนจากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มองว่า ในหลายปีนี้เราเผชิญกับภัยแล้งครั้งใหญ่ของโลกในรอบ 100 ปี ภัยธรรมชาติจากฝนตกหนัก ไต้ฝุ่น ในเดือน ก.ย.ไต้ฝุ่นยางิซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่กระหน่ำประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา จนทำให้น้ำท่วมใหญ่บริเวณภาคเหนือของไทย และในเดือน ต.ค.ไต้หวันก็ประสบกับซุปเปอร์ไต้ฝุ่นก็อง-เรย เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังมีผลกระทบอย่างหนักทั่วโลก

เราได้จัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อใช้วิสัยทัศน์โดยรวมระดับชาติในการจัดการกับสภาพภูมิอากาศและการร่วมมือกับนานาประเทศ โดยมุ่งไปที่การทำให้คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เทคโนโลยีพลังงานสีเขียวหลากหลายเพื่อลดคาร์บอน การเป็นอยู่สีเขียวที่ยั่งยืน การเงินสีเขียวที่ยั่งยืนและความยั่งยืนในการปรับตัวของถิ่นฐาน เสริมสร้างแพลต ฟอร์มแลกเปลี่ยนการรับมือสภาพการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ เร่งรัดนโยบายสู่การปฏิบัติจริงและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

เช่นเดียวกับการนำเป้าหมาย “การลดคาร์บอนเป็นศูนย์ 2050” ใส่ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้คำมั่นว่าจะผลักดันกลไกระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) ในไต้หวันภายใน 4 ปีเพื่อเชื่อมต่อกับทั่วโลก การดำเนินนโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับมาตราที่ 6 ของความตกลงปารีส เพื่อบรรลุเป้าหมายรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

...

ไปจนถึงเรื่อง “นวัตกรรมสีเขียว” ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในไต้หวัน ลงทุนอุตสาห กรรมประหยัดพลังงาน และทรัพยากรหมุนเวียนในระยะยาว ร่วมมือกับผู้ประกอบการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูง นักลงทุนและสถาบันการเงินในการทำการประเมินและมีส่วนร่วมในเทคนิคการลดคาร์บอนประเภทต่างๆ เข้าร่วมกับบริษัทข้ามชาติของไต้หวันวางยุทธศาสตร์การลดคาร์บอนทั่วโลก.

ตุ๊ ปากเกร็ด

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม