- แคมเปญหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของของรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส สร้างสถิติใหม่ สามารถระดมเงินทุนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือน นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศถอนตัวจากการลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาเมื่อฝุ่นที่ตลบในช่วงพ่ายแพ้การเลือกตั้ง
- เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค่อยๆจางลง พายุก็เริ่มก่อตัวขึ้น สถานะการเงินของเธอกลายเป็นที่สนใจ หลังจากเจ้าหน้าที่จากการประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรคเดโมแครต ประกาศว่าทีมหาเสียงของแฮร์ริสมีหนี้อยู่กว่า 20 ล้านเหรียญ
- ทางด้าน Open Secrets องค์กรไม่แสวงหากำไร เปิดเผยรายงานที่ระบุว่า กองทุนคามาลา แฮร์ริส ได้รับเงินบริจาคมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าจำนวน 382 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่กองทุนของโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับในช่วงเวลาเดียวกันอย่างมาก ทำให้เกิดคำถามว่า แคมเปญหาเสียงของคามาลา แฮร์ริส เปลี่ยนจากสถานะเงินล้นคลัง ไปสู่หนี้สินท่วมหัวได้อย่างไร
ไม่นานหลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศถอนตัวจากการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลังจากการดีเบตกับโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งพรรครีพับลิกันแล้วผลออกมาเลวร้าย ทางพรรคเดโมแครตก็ได้รับรองชื่อคามาลา แฮร์ริส เป็นตัวแทนพรรคคนใหม่
หลังจากเริ่มต้นหาเสียงได้ไม่นาน แคมเปญของเธอสามารถระดมทุนได้ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในสัปดาห์แรก ซึ่งคิดเป็น 20% ของยอดระดมทุนทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และต่อมาเงินจำนวนมหาศาลยังคงหลั่งไหลเข้าไปสู่แคมเปญ จนถึงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ทีมหาเสียงของแฮร์ริส ยื่นเอกสารก่อนการเลือกตั้ง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยระบุว่า พวกเขามีเงินเหลือประมาณ 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ
...
แต่ปรากฎว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ลินดี้ ลี สมาชิกคณะกรรมการการเงินของพรรคเดโมแครต เปิดเผยกับ NewsNation เครือข่ายสถานีข่าวเคเบิลว่า ขณะนี้แคมเปญของแฮร์ริสมีหนี้อยู่ 20 ล้านดอลลาร์
คามาลาใช้เงินไปกับอะไร
สำนักข่าวอัลจาซีราห์ อ้างอิงบริษัทจัดทำข้อมูลหาเสียงพบว่า แคมเปญหาเสียงของแฮร์ริสต้องทุ่มเงินโฆษณาอย่างหนัก ถึงกว่า 654 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเอกสารที่ยื่นต่อทางการ แสดงให้เห็นว่าแคมเปญแฮร์ริส ใช้เงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปกับการจัดสำหรับคอนเสิร์ตและการปรากฏตัวของคนดังในช่วงไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เกือบจะเท่ากับหนี้ที่รายงานก่อนหน้านี้
โดยเหล่าคนดังอย่างจอน บอน โจวี คริสตินา อากีเลรา เคธี่ เพอร์รี เมแกน ธีโอ สตอลเลียน และเลดี้ กาก้า ขึ้นแสดงบนเวทีหาเสียงในรัฐที่เป็นสมรภูมิการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่านั่นอาจไม่ใช่การลงทุนที่ชาญฉลาดนัก
หลุยส์ เพอร์รอน นักยุทธศาสตร์การเมืองและผู้เขียนหนังสือ Beat the Incumbent: Proven Strategies and Tactics to Win Elections เปิดเผยว่า การสนับสนุนจากคนดังนั้นถือว่าเกินจริงมาก เนื่องจากเพียงเพราะคุณชอบเพลงของใครสักคนไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นมีอิทธิพลทางการเมืองกับคุณ นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์ยังขึ้นชื่อว่าไม่น่าจะออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอีกด้วย และนอกจากนี้หากมันเป็นการจ่ายเงินเพื่อการรับรองตัวคุณ แน่นอนว่ามันจะทำให้คุณค่าของคุณถูกลดทอนลงไปอีก
เอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่าแคมเปญของแฮร์ริส จ่ายเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับบริษัทผลิตรายการของโอปราห์ วินฟรีย์ ในขณะที่โอปราห์ปฏิเสธผ่าน TMZ ว่า เธอไม่เคยได้รับเงินใดๆ
ทางด้านโฆษกบริษัท Harpo Productions ซึ่งเป็นบริษัทของโอปราห์ กล่าวว่า แคมเปญของแฮร์ริสได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ "Unite for America" ซึ่งเป็นงานถ่ายทอดสดจากเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา
โดยโฆษกของโอปราห์ วินฟรีย์กล่าวว่า เธอไม่เคยจ่ายค่าธรรมเนียมส่วนตัวในช่วงการหาเสียงของเธอ และไม่ได้รับค่าธรรมเนียมจากฮาร์โปด้วย
อย่างไรก็ตามโอปราห์อาจไม่ได้รับเงินในฐานะบุคคล แต่บริษัทของเธอได้รับเงิน โดยโอปราห์สัมภาษณ์แฮร์ริสในงานประชุมทางน์ฮอลล์ เมื่อเดือนกันยายนและปรากฏตัวในการชุมนุมหาเสียงครั้งสุดท้ายของแฮร์ริส ในเมืองฟิลาเดลเฟีย เพียง 1 วันก่อนวันเลือกตั้ง
แคมเปญหาเสียงของทรัมป์ใช้จ่ายไปอย่างไร
แม้ว่าแคมเปญหาเสียงของทรัมป์จะระดมทุนได้ 382 ล้านเหรียญในช่วงเวลาที่แฮร์ริสระดมทุนได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญ โดย Open Secrets เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมว่า คณะกรรมการดำเนินการทางการเมือง หรือ Super PAC มีส่วนสนับสนุนประมาณ 711 ล้านเหรียญ
...
ขณะที่กลุ่มภายนอกมีส่วนสนับสนุนแฮร์ริสมากกว่า 600 ล้านเหรียญเช่นกัน รวมถึงเงินทุนสำรองของเธอที่มีมูลค่ามากกว่า 1,600 ล้านเหรียญ
ขณะที่ America PAC ซึ่งเป็น Super PAC ก่อตั้งขึ้นโดยอีลอน มัสก์ ผู้สนับสนุนตัวหลักของทรัมป์ บริจาคเงิน 130 ล้านเหรียญสหรัฐ มุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงและระดมผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมถึงการรณรงค์ตามบ้านเรือน กิจกรรมเหล่านี้ได้รับการจัดการโดยตัวแคมเปญเองและพรรคการเมือง แต่ Super PAC เป็นแรงผลักดันสำคัญเบื้องหลังการเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของทรัมป์
เหตุใดการระดมทุนเพื่อการหาเสียงจึงพุ่งสูงอย่างมาก
แคมเปญหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2024 ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไปที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ตามข้อมูลของ Open Secrets แคมเปญหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2020 ระหว่างโจ ไบเดนและทรัมป์ใช้งบประมาณไปแล้ว 7,700 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การเลือกตั้งในปีนี้มีการใช้จ่ายรวม 5,500 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนมหาศาลเหล่านี้มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ของประเทศเล็กๆ หลายประเทศ โดยการใช้จ่ายเพื่อการรณรงค์หาเสียงนั้นถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยหลายประการ อาทิ การขยายตัวของ Super PAC (Super Political Action Committee) กลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมือง ตลอดจนความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และความพยายามระดมทุนที่ทำลายสถิติของพรรคการเมืองแต่ละพรรค
...
ขณะเดียวกัน คำตัดสินของศาสฎีกา เมื่อปี 2010 ยังยกเลิกข้อจำกัดต่อบริษัทและสหภาพแรงงานในการใช้เงินในคลังเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวและสื่อสารหาเสียง ส่งผลให้กลุ่มผลประโยชน์พิเศษสามารถจัดสรรเงินไม่จำกัดสำหรับการรณรงค์หาเสียงทางการเมืองได้ ตราบใดที่กลุ่มดังกล่าวไม่ได้ประสานงานกับกิจกรรมรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นทางการ ผลที่ตามมาในวงกว้างของคำตัดสินนี้ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการใช้จ่ายทางการเมืองในการเลือกตั้งไปอย่างสิ้นเชิง.