เมื่อ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี จัดงานทอล์กโชว์ในหัวข้อ “เคป๊อป ในฐานะวัฒนธรรมระดับโลก” (K-pop as a Global Culture Talk Show) ที่ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี โดยเป็นการร่วมวงสนทนาระหว่างตัวแทน 3 ชาติ คือ “ยุน ยองซัม” หัวหน้าภาควิชาเคป๊อปของมหา วิทยาลัยโฮวอนจากเกาหลีใต้, “เบอร์รี เบอร์รี” (Berry Berry) เกิร์ลกรุ๊ป “ทีป๊อป” (T-pop) จากไทย และ “เลนิน ทามาโย” (Lenin Tamayo) ศิลปินเปรู ผู้บุกเบิกวงการ “คิวป๊อป” (Q’pop) หรือ “เกชัวป๊อป” (Quechua Pop)

ในงานนี้ทำให้ทราบว่า กระแสเคป๊อปค่อนข้างกระจายไปหลายประเทศทั่วทวีปเอเชียในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา การที่ตลาดเพลงเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นก็ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพลงสามารถนำเสนอเคป๊อปให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ได้มากขึ้น สะท้อนว่าเหตุที่ทำให้เคป๊อปเป็นที่นิยมจนโด่งดังไปทั่วโลก ก็เพราะไม่ได้ยึดติดอยู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมของเกาหลีแต่รับอิทธิพลจากหลายชาติมาปรับใช้และสร้างสรรค์จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนอกจากเคป๊อบจะทำให้คนหนุ่มสาวค้นพบตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นตัวกลางเชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่เอเชียแต่ไปไกลถึงอเมริกาใต้

เช่นเดียวกับ “เลนิน ทามาโย” ศิลปินผู้บุกเบิกคิวป๊อปจากเปรูที่เล่าว่า รู้จักกับเคป๊อปในตอนที่กำลังตกอยู่ในช่วงเวลาอันยากลำบาก และเคป๊อปก็กลายเป็นแรงผลักดันให้เลือกเดินในเส้นทางการเป็นศิลปินเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนทั่วโลกผ่านการสร้างสรรค์แนวเพลงคิวป๊อป ใช้ดนตรีพื้นเมืองเปรูอย่างแอนเดียน นำเสนอวัฒนธรรมและคุณค่าของภาษาเกชัว ภาษาที่ชาวอินคาเคยใช้ และปัจจุบันมีผู้พูดภาษานี้เกือบ 13 ล้านคนทั้งในเปรูและประเทศอื่นๆ ในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งเกชัวป๊อปยังทำให้เลนินได้สะท้อนตัวตนของตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัดผ่านบทเพลงเช่นกัน

...

ก่อนที่เลนิน ทามาโย จะโชว์ความเจ๋งของคิวป๊อปให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนนับร้อยอย่างเพลง “Intiraymi” (แปลว่า เทศกาลพระอาทิตย์) และเพลงใหม่ล่าสุด คือ “La Llaqta” (แปลว่า ผู้คน).

ญาทิตา เอราวรรณ

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม