สารของนางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูต อิสราเอลประจำประเทศไทย จากตอนที่แล้ว ได้อธิบายอีกว่า กรณีที่องค์การสหประชาชาติแสดงความเลือกปฏิบัติต่อการก่อการร้ายที่กระทำต่อชาวอิสราเอลผ่านการจัดกิจกรรมรำลึกเหยื่อก่อการร้ายสากลเดือน ส.ค. พร้อมเสนอมติให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) มาออกความเห็นในเรื่องดินแดนยึดครองปาเลสไตน์ ถือเป็นสิ่งที่ไม่คำนึงถึงความเป็นจริง

ใส่ใจหรือไม่ในเรื่องพลเมืองอาหรับของอิสราเอลมีสิทธิและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสังคมตลอดเวลาที่ผ่านมา ขณะที่การจ้างงาน และสร้างรายได้ให้ได้แก่ชาวปาเลสไตน์ ในภูมิภาคยูเดีย-ซามาเรีย (เวสต์แบงก์)โดยบรรดาธุรกิจ ของอิสราเอลคืออะไร

แล้วขอถามด้วยว่าจะแก้ปัญหาอื่นๆได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการที่กลุ่มก่อการร้ายฮามาสแย่งชิงความช่วยเหลือที่นานาประเทศจัดส่งให้ชาวปาเลสไตน์ การจำกัดเสรีภาพในการพูดในฉนวนกาซา รวมถึงการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา

มติฉบับนี้ทำลายหลักการพื้นฐานที่ว่า สันติภาพสามารถบรรลุได้ด้วยการเจรจาโดยตรงระหว่างอิสราเอลและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ในทางกลับกัน มติฉบับนี้มีความเสี่ยงที่จะผลักดันสถานการณ์ให้ห่างไกลจากสันติภาพมากขึ้น โดยสนับสนุนความพยายามของปาเลสไตน์ผ่านการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อทำให้อิสราเอลไม่มีความชอบธรรมแทนที่จะใช้การเจรจา อันที่จริงนั้น สันติภาพที่ยั่งยืนจะบรรลุได้ก็ด้วยการเจรจาแบบทวิภาคีโดยตรงเท่านั้น มิใช่การแสวงประโยชน์จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ประชาคมโลกมีบทบาทที่จะหยิบยกข้อขัดแย้งในตะวันออกกลางขึ้นมาพิจารณา แต่ทั้งนี้นานาประเทศต้องทราบตระหนักถึงความซับซ้อนของสถานการณ์เสียก่อน ประเทศที่กังวลอย่างแท้จริงต่อสันติภาพในภูมิภาคควรปฏิเสธมติฉบับนี้อย่างแข็งกร้าว เพราะนอกจากจะไม่นำมาซึ่งสันติภาพ แล้ว ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าสหประชาชาติมีแนวโน้มที่จะให้รางวัลแทนการประณามการก่อการร้าย ของกลุ่มฮามาส.

...

ตุ๊ ปากเกร็ด

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม