รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย ผ่ายร่างกฎหมายเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนถึงขั้นประหารชีวิตแล้ว หลังเกิดกรณีข่มขืนฆ่าหมอสาว จนประชาชนออกมาประท้วงครั้งใหญ่

เมื่อวันอังคารที่ 3 ก.ย. 2567 รัฐสภาของรัฐเบงกอลตะวันตก ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย ผ่านร่างกฎหมายเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนถึงขั้นประหารชีวิตแล้ว ตามหลังการประท้วงใหญ่ของประชาชนที่ไม่พอใจกรณี หมอหญิงวัย 31 ปีรายถึง ถูกข่มขืนและฆาตกรรม ที่เมืองโกลกาตา โดยร่างโชกเลือดของเธอถูกพบภายในโรงเรียนเมื่อ 9 ส.ค.

กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแก้คนร้ายที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงในข้อหาข่มขืน และให้ประหารชีวิตสำหรับผู้ก่อเหตุข่มขืนที่ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตหรืออยู่ในสภาวะเจ้าหญิงนิทรา หรือ สภาวะผัก ส่วนผู้ก่อเหตุซ้ำอาจต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือถึงขั้นประหารชีวิต

นอกจากนั้นยังมีมาตรการอื่นๆ รวมถึงการตั้งทีมเฉพาะกิจพิเศษนำโดยเจ้าหน้าที่หญิง เพื่อเร่งรัดการสืบสวนคดีข่มขืน และเหตุความรุนแรงต่อผู้หญิงอื่นๆ, ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ, เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของศาล และเพิ่มบทลงโทษสำหรับการสืบสวนล่าช้า โดยมีเวลาจำกัดที่ 21 วัน และสามารถขยายเวลาเพิ่มได้ไม่เกิน 15 วัน

รัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย ผ่าน ก.ม.ลงโทษคนข่มขืนสูงสุดถึงประหารชีวิต

รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย ผ่ายร่างกฎหมายเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนถึงขั้นประหารชีวิตแล้ว หลังเกิดกรณีข่มขืนฆ่าหมอสาว จนประชาชนออกมาประท้วงครั้งใหญ่

เมื่อวันอังคารที่ 3 ก.ย. 2567 รัฐสภาของรัฐเบงกอลตะวันตก ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย ผ่านร่างกฎหมายเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนถึงขั้นประหารชีวิตแล้ว ตามหลังการประท้วงใหญ่ของประชาชนที่ไม่พอใจกรณี หมอหญิงวัย 31 ปีรายถึง ถูกข่มขืนและฆาตกรรม ที่เมืองโกลกาตา โดยร่างโชกเลือดของเธอถูกพบภายในโรงเรียนเมื่อ 9 ส.ค.

...

กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้เพิ่มโทษคนร้ายที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงในข้อหาข่มขืน จากจำคุกสูงสุด 10 ปี เป็นจำคุกตลอดชีวิต และให้ประหารชีวิตสำหรับผู้ก่อเหตุข่มขืนที่ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตหรืออยู่ในสภาวะเจ้าหญิงนิทรา หรือ สภาวะผัก ส่วนผู้ก่อเหตุซ้ำอาจต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือถึงขั้นประหารชีวิต

นอกจากนั้นยังมีมาตรการอื่นๆ รวมถึงการตั้งทีมเฉพาะกิจพิเศษนำโดยเจ้าหน้าที่หญิง เพื่อเร่งรัดการสืบสวนคดีข่มขืน และเหตุความรุนแรงต่อผู้หญิงอื่นๆ, ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ, เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของศาล และเพิ่มบทลงโทษสำหรับการสืบสวนล่าช้า โดยมีเวลาจำกัดที่ 21 วัน และสามารถขยายเวลาเพิ่มได้ไม่เกิน 15 วัน

ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกส่งไปให้นาย ซี. วี. อนันดา โพส ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกพิจารณาแล้ว และคาดว่าเขาจะลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายของรัฐ

ทั้งนี้ คดีข่มขืนและฆาตกรรมแพทย์ประจำบ้าน (resident doctor) หญิงรายนี้ ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ RG Kar ในเมืองโกลกาตา จุดกระแสความไม่พอใจไปทั่ว หมอในอินเดียร่วมกันหยุดงานประท้วงทั่วประเทศ ในขณะที่ประชาชนก็ออกมาเดินขบวนตามเมืองใหญ่ต่างๆ

ถึงแม้ว่าตอนนี้หมอสวนใหญ่จะกลับไปทำงานตามปกติแล้ว แต่การประท้วงของประชาชนในรัฐเบงกอลตะวันตกลุกลามบานปลายกลายเป็นการปะทะกันระหว่าง คู่อริทางการเมืองขั้วต่างๆ แล้ว

จนถึงตอนนี้ เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยในคดีได้เพียง 1 รายเท่านั้น ชื่อว่า ซันเจย์ รอย ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์และกำลังถูกใส่ความ

ขณะที่ฝ่ายต่อต้านโทษประหารชีวิตออกมาคัดค้านร่างกฎหมายใหม่ของรัฐเบงกอลตะวันตก โดยระบุว่า นโยบายประหารชีวิตไม่ช่วยป้องพร้อมการกระทำผิด แต่ผู้บริสุทธิ์จะถูกใส่ความและถูกประหารชีวิต เนื่องจากหน่วยงานรัฐต้องเร่งการดำเนินคดีเพื่อเอาใจสังคม

ติดตามข่าวต่างประเทศ : https://www.thairath.co.th/news/foreign

ที่มา : abcnews