กิมจิ หนึ่งในอาหารประจำชาติของเกาหลีใต้ กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร และผู้ผลิตต่างกล่าวว่า คุณภาพและปริมาณของผักกาดขาว ที่มาทำเป็นอาหารยอดนิยมนี้กำลังลดลงเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

กิมจิ หนึ่งในอาหารประจำชาติของเกาหลีใต้ กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร และผู้ผลิตต่างกล่าวว่า คุณภาพและปริมาณของผักกาดขาว ที่มาทำเป็นอาหารยอดนิยมนี้กำลังลดลงเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

ผักกาดขาวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เย็น และมักปลูกในพื้นที่ภูเขา ซึ่งอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูเพาะปลูกที่สำคัญนั้น แทบจะไม่เคยสูงเกิน 25 องศาเซลเซียส การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังคุกคามผลผลิตผักกาดขาวอย่างมาก จนทำให้เกาหลีใต้อาจไม่สามารถปลูกผักกาดขาวได้อีก เนื่องจากอากาศร้อนจัด

อี ยองกยู นักพยาธิวิทยาพืชและนักไวรัสวิทยา กล่าวว่า ผักกาดขาวเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับช่วงอุณหภูมิที่ค่อนข้างแคบ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือระหว่าง 18 ถึง 21 องศาเซลเซียส ขณะที่ทั้งในภาคเกษตรกรรมและครัวเรือน เกษตรกรและผู้ผลิตกิมจิต่างก็สัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงแล้ว

กิมจิรสเผ็ดสามารถทำจากผักชนิดอื่นๆ เช่น หัวไชเท้า แตงกวา และต้นหอม แต่เมนูยอดนิยมยังคงเป็นเมนูที่ทำจากผักกาดขาว

ลี ฮายอน ผู้ได้รับตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านกิมจิจากกระทรวงเกษตรเกาหลีใต้ อธิบายถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงขึ้นที่มีต่อผักกาดขาวว่า จะทำให้แกนกลางของผักกาดขาวเน่า และรากเละ เขากล่าวว่า "หากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป เราอาจต้องเลิกทำกิมจิผักกาดขาวในฤดูร้อน"

...

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติของรัฐบาลระบุว่า พื้นที่ปลูกผักกาดขาวบนที่สูงในปีที่แล้ว มีพื้นที่ปลูกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 24,968 ไร่ เมื่อเทียบกับ 54,975 ไร่

ตามรายงานของสำนักงานพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านการเกษตรของรัฐ ระบุว่า สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาดการณ์ว่าจะทำให้พื้นที่เพาะปลูกจะลดลงอย่างมากภายใน 25 ปีข้างหน้า เหลือเพียง 275 ไร่ และไม่มีการปลูกผักกาดขาวบนพื้นที่สูงภายในปี 2090

นักวิจัยระบุว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น ฝนตกหนักแบบคาดเดาไม่ได้ และแมลงศัตรูพืชที่ควบคุมได้ยากขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและยาวนานขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนั้น ปัญหาเชื้อราที่ทำให้พืชเหี่ยวเฉา ยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว.

ที่มา Reuters

อ่านข่าวเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/news/foreign