ดวงจันทร์ที่เรียกว่า “ซุปเปอร์มูน” (Supermoon) คือดวงจันทร์ที่เราจะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าปกติ จริงๆแล้วไม่ใช่ อะไรที่แปลกใหม่ เนื่องจากมีให้ชมอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีซุปเปอร์มูนที่หายากและนานหลายปี กว่าจะมีมาให้เห็น เช่น “ซุปเปอร์มูน บลู มูน” (Supermoon Blue Moon) หรือพระจันทร์สีน้ำเงินแบบเต็มดวงขนาดใหญ่ ซึ่งใครที่ชอบชมจันทร์ไม่ควรพลาด เพราะ “ซุปเปอร์มูน บลู มูน” จะปรากฏในวันที่ 19 ส.ค.นี้ โดยจะเห็นบนท้องฟ้าเป็นเวลา 3 วัน ผู้คนในทวีปเอเชียสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่เช้าวันที่ 20 ส.ค.

“ซุปเปอร์มูน บลู มูน” หนนี้ยังเกิดขึ้นตรงกับเทศกาลผูกด้ายศักดิ์สิทธิ์ Raksha Bandhan ของชาวฮินดู หรือเรียกอีกอย่างว่า Rakhi Purnima ที่เป็นการเฉลิมฉลองประเพณีที่เกี่ยวกับความผูกพันและสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างพี่น้อง

ย้อนรอยถึงประวัติศาสตร์คำว่า “ซุปเปอร์ มูน” มีบันทึกว่าคำนี้ถูกบัญญัติในปี พ.ศ.2522 โดย ริชาร์ด โนลล์ นักโหราศาสตร์ชาว อเมริกัน หมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงที่เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด 90% ซึ่งจุดใกล้โลกที่สุดนั้น ทำให้ซุปเปอร์มูนแบบเต็มดวงนั้นน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสว่างที่สุดของปี แน่นอนว่าดึงดูดความสนใจจากผู้คนอย่างมาก

แต่ถ้าใครคิดว่า “บลู มูน” จะมองเห็น เป็นสีน้ำเงิน ก็จะไม่ได้เป็นไปแบบนั้น เว้นเสียแต่ว่าถ้าสภาพบรรยากาศในขณะนั้น มีควันหรือฝุ่น สิ่งเหล่านี้สามารถกระจายคลื่นแสงสีแดง ทำให้เราอาจมองเห็นดวงจันทร์ มีสีน้ำเงินได้

...

ส่วนปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงินเต็มดวงขนาดใหญ่แบบนี้อาจเกิดขึ้นห่างกันได้ถึง 20 ปี แต่โดยเฉลี่ยแล้วเกิดขึ้นทุก 10 ปี คาดว่าครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในเดือน ม.ค.และ มี.ค.2580 โน่นเลย!


ภัค เศารยะ

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม