การปรับปรุงความเข้าใจ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและกำหนดศักยภาพของสิ่งมีชีวิตนอกโลก เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งการศึกษาเรื่องเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์จึงอาศัยหลักฐานจากชั้นหินภายในชั้นของโลก ล่าสุด ทีมวิจัยที่ร่วมด้วยนักธรณีจุลชีววิทยาจากมหา วิทยาลัยควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย ได้ขุดเอาตัวอย่างหินจากชั้นเนื้อโลกมาศึกษา
ทีมวิจัยเผยว่านี่เป็นหินในชั้นเนื้อโลกที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยพบเจอ หลังจากเจาะลึกลงไป 1.2 กิโลเมตรตรงพื้นที่สันเขาตอนกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นจุดที่พื้นทะเลกำลังแยกออกจากกัน บริเวณจุดที่เจาะอยู่ใกล้กับ “ลอสต์ ซิตี” (Lost City) ที่เป็นช่องระบายน้ำร้อนใต้พิภพเต็มไปด้วยโครงสร้างคล้ายรังผึ้งและปล่องสูงที่ปล่อยก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนลงในมหาสมุทร ทีมอธิบายว่าปฏิกิริยาระหว่างชั้นเนื้อโลกกับน้ำทะเล ก่อให้เกิดสารเคมีที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต พวกจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่ด้วยโมเลกุลสารเคมีเหล่านี้ ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงชุมชนของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หอยทาก และหนอนท่อ
...
มีความพยายามก่อนหน้านี้ ในการขุดลงไปในชั้นเนื้อโลกผ่านน้ำในทะเลลึก แต่เจาะได้ลึกเพียง 201 เมตร ถือว่ายังไม่ลึกพอที่จะค้นหาสิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรียที่ชอบความร้อน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกมันอาจอาศัยอยู่ในส่วนที่ลึกกว่านั้น และการเจาะลึกลงไป 1.2 กิโลเมตร อาจทำให้ทีมวิจัยได้รับคำตอบที่รอคอย.
อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่