เมื่อดาวฤกษ์เผาไหม้มันจะสูญเสียธาตุที่เบากว่า เช่น ลิเทียม เพื่อแลกกับธาตุที่หนักกว่า เช่น คาร์บอนและออกซิเจน แต่การวิเคราะห์ดาวฤกษ์ดวงใหม่ชื่อ J0524–0336 ที่ค้นพบไม่นานมานี้โดยรานา เอซเซดดีน นักดาราศาสตร์ รานา จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้รับการเปิดเผยว่าอาจให้ข้อมูลเชิงลึกถึงขั้นตอนใหม่ในวงจรการเติบโตของดาวฤกษ์

ทีมนักดาราศาสตร์เผยว่า J0524-0336 ท้าทายความเข้าใจของนักดาราศาสตร์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์และการก่อตัวของธาตุเคมี เพราะมันไม่เพียงแต่มีปริมาณลิเทียมสูงเมื่อเทียบกับอายุของดาวฤกษ์เท่านั้น แต่ยังสูงกว่าระดับปกติของดาวฤกษ์ดวงใดๆในทุกอายุอีกด้วย J0524-0336 เป็นดาวฤกษ์ที่วิวัฒนาการแล้ว และอยู่ในช่วงท้ายๆของการมีชีวิต จึงเริ่มจะเติบโตอย่างไม่คงที่ นั่นหมายความว่ามันมีขนาดใหญ่และสว่างกว่าดาวฤกษ์ประเภทเดียวกันกับดวงอื่นๆมาก คาดว่ามีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 30 เท่า

การวัดองค์ประกอบธาตุของดาวด้วยวิธีสเปกโตรสโคปี พบว่า J0524-0336 มีลิเทียมมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 100,000 เท่าในอายุเท่านี้ ปริมาณลิเทียมอาจบ่งชี้ถึงกลไกที่ไม่เคยรู้มาก่อนในการผลิตหรือกักเก็บลิเทียมในดาวฤกษ์ ทีมตั้งสมมติฐานว่าที่ J0524-0336 มีลิเทียมสูง อาจได้รับธาตุมาจากการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุท้องฟ้าอื่น.

Credit : Pixabay/CC0 Public Domain

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่