หน่วยงานด้านภูมิอากาศของยุโรป เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเดือนกรกฎาคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 เท่าที่เคยมีการบันทึกมา และทำลายสถิติ 13 เดือนที่แต่ละเดือนมีอุณหภูมิสูงสุด

สำนักบริการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป เปิดเผยข้อมูลว่า เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเดือนกรกฎาคมที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาเป็นอันดับ 2 และทำลายสถิติ 13 เดือนที่แต่ละเดือนมีอุณหภูมิสูงสุด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

โคเปอร์นิคัสระบุในรายงานประจำเดือนว่า เดือนกรกรฎาคม มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมระหว่างปี พ.ศ. 2393-2533 ถึง 1.48 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.64 องศาเซลเซียส เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งใกล้เคียงกับขีดจำกัดอุณหภูมิที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกตกลงกันในข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 1.5 องศาฯ

อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในเดือนกรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 16.91 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา 1.2 องศาฯ ขณะที่อุณหภูมิลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ โลกยังมีอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก คือวันที่ 22 และ 23 กรกฎาคม โดยแต่ละวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย

โคเปอร์นิคัสระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่วนใหญ่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และตั้งข้อสังเกตว่ามหาสมุทรที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ

จูเลียน นิโคลัส นักวิจัยด้านภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัส กล่าวว่า "ปรากฏการณ์เอลนีโญสิ้นสุดลงแล้ว แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในระดับนี้ ภาพรวมค่อนข้างคล้ายคลึงกับสถานการณ์เมื่อปีที่แล้ว"

...

อุณหภูมิที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยพบในยุโรปตอนใต้และตะวันออก ทางตะวันตกของสหรัฐฯ ทางตะวันตกของแคนาดา พื้นส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และแอนตาร์กติกาตะวันออก ส่วนอุณหภูมิที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยพบในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือยุโรป ทางตะวันตกของแอนตาร์กติกา บางส่วนของสหรัฐฯ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย

เดือนกรกฎาคม ยังพบฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยในยุโรปตอนเหนือและทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ในขณะที่ยังคงมีการเตือนภัยแล้งในยุโรปตอนใต้และตะวันออก ส่วนปริมาณน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก ลดลงมากกว่าในปี 2565 และ 2566 โดยอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 7% แม้ว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับการลดลง 14% ในปี 2563 ก็ตาม ขณะที่ปริมาณน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติก ลดลงมากเป็นอันดับสองในเดือนกรกฎาคม โดยอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 11% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 15%

อุณหภูมิของน้ำทะเลทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเดือนกรกฎาคมปีนี้ต่ำกว่าเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้วเพียง 0.1 องศาเซลเซียส ถือเป็นการสิ้นสุดสถิติใหม่ 15 เดือนติดต่อกัน.

ที่มา Reuters

ติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign