เมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อน สกอตแลนด์ไม่ได้ปกคลุมไปด้วยหมอกและฝนแบบในปัจจุบัน แต่เป็นทะเลทรายที่มีเนินทราย สัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยในดินแดนที่มีสภาพแวดล้อมท้าทายต่อการอยู่รอด นั่นก็คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรูปร่างเตี้ยคล้ายหมูชื่อ กอร์โดเนีย (Gordonia) มีใบหน้าคล้ายสุนัขพันธุ์ปั๊ก มี 2 งายื่นออกมาจากปากที่มีจะงอยแหลม

ทีมวิจัยนำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษ เผยว่า ได้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของกอร์ โดเนีย พบว่ามันคือบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ยังคงรักษาลักษณะของบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานไว้ มีอายุประมาณ 254-252 ล้านปีในยุคเพอร์เมียน ทีมวิจัยได้จำลองสมองแบบดิจิทัลโดยใช้การถ่ายภาพด้วยความละเอียดสูงแบบ 3 มิติจากซากฟอสซิลของมัน ทำให้เข้าใจขนาดและองค์ประกอบของสมองกอร์โดเนีย ที่เชื่อว่าจะไขความกระจ่างถึงช่วงเริ่มต้นของวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้

นักวิจัยอธิบายว่า สมองของกอร์โดเนียแตกต่างจากเลี้ยงลูกด้วยนม ในทุกวันนี้ โดยสมองส่วนหน้าของมัน มีขนาดเล็กกว่าสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆมาก อีกทั้งสมองของมันยังดูเหมือนสัตว์เลื้อยคลานมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทว่าเมื่อเทียบขนาดสมองกับร่างกาย ดูจะบ่งบอกถึงสติปัญญาที่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งในกลุ่มนี้ยังรวมถึงมนุษย์เราด้วย สามารถกระจายตัวครองโลกในเวลาต่อมา

...

นักวิจัยระบุว่า กอร์โดเนียมีขนาดตัวยาวราว 1 เมตร หนักเกือบ 20.5 กิโลกรัม ศีรษะของมันสูงและกว้าง แต่ถึงจะรูปร่างเตี้ยและคล้ายหมู ขาของมันก็ไม่ยาวเท่าหมู ส่วนจะงอยปากและงามีไว้เด็ดรากพืชในทะเลทรายกิน.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่