การค้นหาสสารมืดเป็นหนึ่งในเรื่องที่นักดาราศาสตร์อยากไขคำตอบเป็นอย่างมาก เชื่อว่าสสารมืดมีอยู่ 85% ของสสารในจักรวาลหรือเอกภพ แต่เรามองไม่เห็น เนื่องจากสสารมืดไม่โต้ตอบกับแสง ไม่ได้ทำปฏิกิริยากับแสง ดูดซับแสง ไม่สะท้อนแสง ไม่เปล่งแสง นั่นหมายความว่ากล้องโทรทรรศน์ที่เรามีไม่สามารถสังเกตสสารมืดได้โดยตรง แม้จะรู้ว่ามันมีอยู่จริง แรงดึงดูดของมันต่อวัตถุที่เราเห็นบอกเราว่ามันต้องอยู่ที่นั่น
เมื่อเร็วๆนี้ นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลียเผยว่าอาจเข้าใกล้การไขปริศนาอันยิ่งใหญ่เรื่องสสารมืด หลังจากคำนวณว่าดาวนิวตรอนอาจเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้เข้าใจสสารมืด โดยอธิบายว่าดาวนิวตรอนเป็นซากของดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่หมดพลังงานและล่มสลายลง พวกมันมีมวลคล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา กว้างเพียง 20 กิโลเมตร ความหนาแน่นมาก
หากอนุภาคของสสารมืดชนกับนิวตรอนในดาวฤกษ์ พวกมันจะสูญเสียพลังงานและติดอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้เกิดการสะสมของสสารมืดในดาวฤกษ์ และคาดว่าจะทำให้ดาวนิวตรอนชราที่เย็นจัด สามารถร้อนขึ้นถึงระดับที่กระตุ้นให้ดาวฤกษ์ยุบตัวเป็นหลุมดำ ซึ่งหากการถ่ายโอนพลังงานเกิดขึ้นเร็ว ดาวนิวตรอนก็จะร้อนขึ้น ทว่าการที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้น สสารมืดจะต้องผ่านการชนกันในดาวฤกษ์หลายครั้ง ถ่ายเทพลังงานของสสารมืดก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดพลังงานทั้งหมดก็มีถูกฝากไว้บนดาวฤกษ์.
(Credit : Pixabay/CC0 Public Domain)
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่