เมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีก่อน โลกกำลังพัฒนาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ แต่นักวิทยาศาสตร์มักสงสัยว่าองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสารที่พบในโลกยุคแรกๆนั้นคล้ายคลึงกับองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติ ฯลฯ ที่สิ่งมีชีวิตต้องการในยุคปัจจุบันหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าการสะสมของไขมันรูปร่างกลม ที่เรียกว่าโปรโตเซลล์ เป็นสารตั้งต้นของเซลล์ในช่วงการก่อเกิดของสิ่งชีวิต แต่โปรโตเซลล์ธรรมดาเกิดขึ้นครั้งแรกและหลากหลายเพื่อนำไปสู่การกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ฟอสเฟตมีอยู่ในปฏิกิริยาเคมีเกือบทุกชนิดในร่างกาย และคิดว่าโปรโตเซลล์เกิดจาก กรดไขมัน ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสคริพพ์ส ในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบแนวทางหนึ่งที่อาจบ่งชี้ความเป็นไปได้ว่าโปรโตเซลล์อาจก่อตัวขึ้นครั้งแรก และไขมัน ชนิดนี้มีความก้าวหน้าทางองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติ ฯลฯ ได้อย่างไรเพื่อให้สามารถทำงานได้หลากหลาย ทีมอธิบายว่ากระบวนการทางเคมีที่เรียกว่าปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน (phosphorylation) ที่มีกลุ่มฟอสเฟตถูกเพิ่มเข้าไปในโมเลกุล อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ และจะนำไปสู่การเป็นโปรโตเซลล์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากขึ้น ในแง่ความสามารถรักษาปฏิกิริยาทางเคมีและแบ่งหน้าที่การทำงาน

ทีมเผยว่าการที่ฟอสเฟตสามารถถูกรวมเข้ากับโครงสร้างคล้ายเซลล์ได้เร็วกว่าที่คิดไว้ก่อนหน้านั้น เป็นไปได้ที่สิ่งนี้จะวางรากฐานสำหรับก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต ซึ่งการค้นพบนี้ช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมทางองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสารของโลกยุคแรกได้ดีขึ้น.

Credit : The Scripps Research Institute.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่

...