“งู” เป็นสัตว์ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในยุคของไดโนเสาร์ อาศัยอยู่เกือบทุกแห่งบนโลก ตั้งแต่มหาสมุทรไปจนถึงยอดของต้นไม้ วิวัฒนาการของ “งู” เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ตลอดมา เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยนักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา เผยงานวิจัยใหม่ที่ให้รายละเอียดว่าสัตว์เลื้อยคลานไม่มี แขนขาเหล่านี้มีวิวัฒนาการในการแข่งขันเพื่ออยู่รอดมาอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างลำดับวิวัฒนาการที่ครอบคลุม ประกอบด้วยงูและกิ้งก่า โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของสัตว์เหล่านี้ประมาณ 1,000 สายพันธุ์ ขณะเดียวกันก็ตรวจสอบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร โครงสร้างของกะโหลกศีรษะ การสืบพันธุ์ และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของ “งู” ซึ่งผลการศึกษาพบว่า “งู” ในยุคแรกๆได้เปลี่ยนโครงสร้างร่างกายของพวกมันไปในทางที่สำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วมันกลายเป็นสัตว์นักล่าที่มีความเชี่ยวชาญสูง กะโหลกของพวกมันมีความยืดหยุ่นอย่างมากต่อการจับและกลืนเหยื่อได้ดีขึ้น ทั้งยังมีระบบการตรวจจับเหยื่อที่น่าทึ่ง ด้วยการรับรู้กลิ่นหรือการรับรู้ทางเคมี บางชนิดก็พัฒนาความสามารถในการมองเห็นจากการตรวจจับรังสีความร้อน บางชนิดก็มีพิษ

...

นอกจากนี้ยังพบว่า “งู” มีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากมายในช่วงต้นประวัติศาสตร์ และมีการพัฒนาเร็วกว่ากิ้งก่าที่เป็นสายพันธุ์เครือญาติประมาณ 3-5 เท่า.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่