ถ้ำอิลเซนโฮห์เลอ (Ilsenhöhle) ตั้งอยู่ใต้ปราสาทยุคกลางบนเนินแห่งหนึ่งในเมืองรานิซ เยอรมนี ถูกขุดซากโบราณขึ้นมาบางส่วนในช่วงทศวรรษ 1930 แต่ช่วงปี 2559-2565 มีการขุดค้นอีก โดยนักวิจัยหวังจะพบเบาะแสอะไรเพิ่มเติม ทว่านับตั้งแต่การขุดค้นในช่วงทศวรรษ 1930 ก็ไม่มีใครสามารถผ่านหินสูงเกือบ 2 เมตรที่ขวางทางเข้าถ้ำได้ ทว่าล่าสุดทีมวิจัยนำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากวิทยาลัยแห่งฝรั่งเศส และสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อมานุษยวิทยาวิวัฒนาการในเยอรมนี สามารถผ่านไปได้แล้ว
ทีมพบว่าด้านหลัง หินขนาดใหญ่นั้นมีซากกระดูกมนุษย์และเครื่องมือต่างๆที่กลายเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของกลุ่มมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) ที่เคยค้นพบทางตอนเหนือ และเชื่อว่าจะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ได้ว่า กลุ่มมนุษย์โฮโมเซเปียนส์อาศัยอยู่ในยุโรปได้อย่างไร และเหตุใดพวกเขาถึงเข้ามาแทนที่มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthals) ที่สูญพันธุ์ไปอย่างลึกลับเพียงไม่กี่พันปีหลังจากที่โฮโมเซเปียนส์มาถึง ซึ่งหลักฐานที่พบนี้ชี้ว่าโฮโมเซเปียนส์บุกฝ่าสภาวะน้ำแข็งมาตั้งถิ่นฐานในยุโรปเหนือเมื่อกว่า 45,000 ปีก่อน ทำให้น่าประหลาดใจ ว่าโฮโมเซเปียนส์สามารถอาศัยอยู่พร้อมๆกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลได้ในเวลานั้น
...
นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า ได้ใช้เทคนิคใหม่ที่เรียกว่า Paleoproteomics เกี่ยวข้องกับการสกัดโปรตีนจากฟอสซิล เพื่อตรวจสอบว่ากระดูกใดมาจากสัตว์และกระดูกใดมาจากมนุษย์ และใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมัน ตรังสีและการวิเคราะห์สารพันธุ กรรมหรือดีเอ็นเอ จนยืนยันได้ว่าถ้ำแห่งนี้มีซากโครงกระดูกของมนุษย์โบราณ 13 คน นั่นหมายความว่าเครื่องมือหินที่เรียกว่า Lincombian-Ra nisian-Jerzma nowician (LRJ) ที่ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าสร้างโดยมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล แท้จริงแล้วถูกทำขึ้นโดยมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เมื่อ 47,500 ปีก่อน.
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่