การวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ระบุว่าดาวพฤหัสบดีเป็นหนึ่งในสาเหตุของการก่อเกิดสิ่งมีชีวิตบนโลก ในช่วงการก่อตัวของระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีจะยิงเศษหิน น้ำแข็ง เข้าหาดวงอาทิตย์ที่อายุยังน้อย ชิ้นส่วนพวกนั้นทำหน้าที่เป็นตัวต่อที่ช่วยให้โลกสมัยดึกดำบรรพ์เกิดขึ้น และเศษซากบางส่วนยังอาจมีองค์ประกอบสำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น น้ำและส่วนประกอบพื้นฐานของโมเลกุลที่ซับซ้อน
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอเทรอดาม รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ได้สร้างรายการหรือแค็ตตาล็อกดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่คล้ายโลกและคล้ายดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งแรก มีชื่อว่า เคปเลอร์ ไจแอนต์ พลาเน็ต เซิร์ช (Kepler Giant Planet Search) ถือเป็นเล่มแรกของการสำรวจความหลากหลายของระบบดาวเคราะห์ที่มีอยู่ในจักรวาล พร้อมกับสิ่งต่างๆ ที่คล้ายกับระบบสุริยะของเรา ซึ่งใช้เวลาทำแค็ตตาล็อกนี้มานานถึงสิบปี นักดาราศาสตร์เผยว่าข้อมูลได้มาจากหอดูดาวดับเบิลยู.เอ็ม.เคก บนภูเขาไฟเมานาเคอา ในหมู่เกาะฮาวาย สหรัฐฯ โดยได้บันทึกความเร็วที่วัตถุเคลื่อนออกจากโลก ของดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ 63 ดวง และเป็นดาวแม่ของดาวเคราะห์ขนาดเล็ก 157 ดวง
ดาวเคราะห์ขนาดเล็ก 157 ดวงเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ขนาดของดาวอังคาร ไปจนถึงขนาดดาวเนปจูน และบางดวงมีพื้นผิวหินที่อาจเหมาะต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทีมยังค้นพบดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัส 13 ดวง และพบ 8 ดวงมีขนาดใกล้เคียงดาวเนปจูน พบดาวสหายอีก 3 ดวง โคจรรอบดาวฤกษ์ที่เป็นเป้าหมายหลัก.
Credit : NASA Ames/JPL-Caltech/T. Pyle
อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
...