จากตอนที่แล้ว “จางจวิ้นฝู” ผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่ของสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย ยังมองทิศทางการมุ่งสู่การลดปริมาณคาร์บอน หรือ “net-zero” ไว้อีกว่า มีแนวโน้มมากขึ้นทุกขณะว่าอีกไม่นานเราทุกคนก็จะเผชิญกับ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment)

หรือหมายถึง การกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง (เช่น เหล็ก ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย อะลูมิเนียม) ซึ่งสหภาพยุโรป เล็งที่จะเป็นเรือธงในเรื่องนี้

ในเมื่อเศรษฐกิจไต้หวันเป็นเศรษฐกิจที่นำโดย “การส่งออก” จึงมีการจัดตั้งกลไกประสานงานข้ามกระทรวง เพื่อช่วยผู้ประกอบการให้ทราบถึงปริมาณคาร์บอนในผลิตภัณฑ์ของตนเอง การลดคาร์บอนและผลักดันระบบการกำหนดราคาคาร์บอน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรม เดินหน้า “แผนปฏิบัติการการเงินสีเขียว” เพื่อชักนำให้มีการลงทุนสีเขียวหรืออุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เสริมสร้างพัฒนาการสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสังคม และการบริหารจัดการบริษัทอย่างยั่งยืน

เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลไต้หวันยังจัดตั้ง “สำนักงานการซื้อขายสิทธิคาร์บอนไต้หวัน” ขึ้น อาศัยกลไกตลาดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างแรงดึงดูดภาคธุรกิจในการลด คาร์บอน ขณะเดียวกันก็เร่งวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอน และบ่มเพาะบุคลากร เพื่อการหมุนเวียนเชิงบวกแก่เศรษฐกิจสีเขียว

ผอ.จางจวิ้นฝูมองด้วยว่า แม้จะมีอุปสรรคมากมายในการเข้าร่วมกิจกรรมกับนานาประเทศก็ตาม แต่ในฐานะที่ไต้หวันเป็นหนึ่งในขุมพลังของโลก ยังคงพยายามแสวงหาโอกาสในการสร้างคุณประโยชน์ด้วยความสามารถในการพัฒนา “เทคโนโลยีสีเขียว” ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการกู้ภัย การป้องกันภัย การรักษาสภาพแวดล้อม การรักษาพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสีเขียว

...

จึงหวังอย่างยิ่งว่า กรอบอนุสัญญาสห ประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) จะให้โอกาสแก่ไต้หวันได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ยอมรับไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของกลไกความร่วมมือ และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ “ปฏิญญาปารีส” ร่วมขจัดวิกฤติโลกร้อน.

ตุ๊ ปากเกร็ด

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม