พลาสติกที่เป็นโภคภัณฑ์ได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในการก่อสร้าง เสื้อผ้า ยานพาหนะ หรือบรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติกเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันของเรา และมากจนมีการประเมินใช้ทั่วโลกอยู่ที่ราว 460,000 ล้านกิโลกรัม ในปี 2562 ตัวเลขนี้น่าตกตะลึง แต่ไม่น่าแปลกใจ เพราะพลาสติกหรือที่เรียกว่าโพลีเมอร์สังเคราะห์ โดดเด่นด้วยคุณลักษณะทั้งน้ำหนักเบา ราคาถูก ใช้งานได้หลากหลาย แต่ข้อเสียที่สำคัญคือรีไซเคิลได้ยาก
ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักเคมีจากมหาวิทยาลัยลีแยฌ ในเบลเยียม ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตโพลีเมอร์ที่เรียกว่าโพลียูรีเทน (polyurethane) ใหม่โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสร้างพลาสติกประเภทใหม่ที่รีไซเคิลได้ง่าย ทีมอธิบายว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตส่วนประกอบหรือโมโนเมอร์ (หน่วยเล็กๆของสารในโพลีเมอร์) ที่จำเป็นในการผลิตพลาสติกประเภทใหม่ โครงสร้างของโมโนเมอร์ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ทำให้ผลิตพลาสติกที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ตั้งแต่อีลาสโตเมอร์ที่มีความอ่อนตัวได้สูง เช่น ซิลิโคน ไปจนถึงวัสดุที่มีความแข็งมากขึ้น เช่น โพลีสไตรีน
ทีมเผยว่า ข้อได้เปรียบใหญ่ที่สุดของเทคโนโลยีใหม่คือความสามารถในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็นำเสนอวัสดุรีไซเคิลได้หลายวิธีเมื่อหมดอายุการใช้งานเทคโนโลยีใหม่นี้จะเป็นหนทางที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาพลาสติกที่ยั่งยืน พร้อมคุณสมบัติที่หลาก หลายที่ตอบสนองความ ต้องการในการใช้งานส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างง่ายดาย.
Credit : University of Liège / Th.Habets