เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ นำโดยนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ ที่ใช้เวลาเดินทางนานหนึ่งเดือน สำรวจแนวเทือกเขาไซคลอปส์ จังหวัดปาปัว ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ที่ยังไม่เคยสำรวจมาก่อน โดยเป็นป่าฝนอันขรุขระความสูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เผยการค้นพบสุดตื่นเต้นนั่นคือพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออกลูกเป็นไข่สายพันธุ์ที่สูญหายไปนาน กว่า 60 ปีอีกครั้ง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้มีหนามเหมือนเม่น จมูกเหมือนตัวกินมด เท้าเหมือนตัวตุ่น ถูกตั้งชื่อว่า Attenborough’s long-beaked echidna หรือ “ตัวกินมดหนามปากยาวของแอตเทนบะระ” ตั้งตามชื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษนามเซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ ซึ่ง “ตัวกินมดหนามปากยาวของแอตเทนบะระ” ทีมอธิบายว่ามันเป็นสัตว์ขี้อาย อาศัยในโพรงยามกลางคืนและหาได้ยาก สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เพราะมันเป็นสมาชิกกลุ่มโมโนทรีม (monotreme) ออกลูกเป็นไข่ แต่ลูกที่ฟักออกมาจะกินนมผ่านทางผิวหนังบริเวณหน้าท้องของมารดา พวกมันแยกออกจากลำดับวิวัฒนาการชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อราวๆ 200 ล้านปีก่อน
...
ทีมสำรวจหวังว่าการค้นพบ “ตัวกินมดหนามปากยาวของแอตเทนบะระ” และสายพันธุ์ใหม่อื่นๆจะช่วยสร้างการอนุรักษ์ในเทือกเขาไซคลอปส์ แม้ตัวกินมดชนิดนี้จะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันยังไม่เป็นสัตว์คุ้มครองในอินโดนีเซีย และไม่รู้ว่ามีประชากรของพวกมันมากหรือน้อยแค่ไหน รวมถึงจะรักษาเผ่าพันธุ์ได้ยั่งยืนหรือไม่.
อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่