อุทยานแห่งชาติโกรงโกซาในประเทศโมซัมบิก ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา เป็นป่าริมชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก ถือเป็นรากฐานในการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของระบบนิเวศของแอฟริกา และมีผลต่อวิวัฒนาการรวมถึงการปรับตัวของโฮมินินหรือเชื้อสายมนุษย์ทั้งหมด

เมื่อเร็วๆนี้มีทีมวิจัยนานาชาติร่วมด้วยโครงการธรณีวิทยาและธรณีวิทยาจากศูนย์ศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์แห่งชาติสเปน (Centro Nacional de Investiga ción sobre la Evolución Humana-CENIEH) ได้เผยแพร่งานวิจัยลงในวารสาร iScience เกี่ยวกับการศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล “ฟัน” ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคไมโอซีน (Miocene) ตัวแรกที่พบในแอฟริกาตะวันออก โดยระบุอายุระหว่าง 5-23 ล้านปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการกำเนิดลิงแอฟริกา ทีมยังใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีของการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่เรียกว่ามาซัมบา (Mazamba) และสร้างพืชพรรณบรรพกาลในภูมิภาคนี้ขึ้นมาใหม่ พร้อมนำเสนอถึงฟอสซิลต่างๆ ทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก รวมถึงฟอสซิลไม้จากสภาพแวดล้อมในยุคดึกดำบรรพ์ของชายฝั่ง

ทีมวิจัยเผยว่าสิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือพวกเขาค้นพบคือ ไฮแรกซ์ยักษ์สายพันธุ์ใหม่ที่มีน้ำหนักระหว่าง 124-153 กิโลกรัม ซึ่งการวิจัยนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับภูมิภาคแอฟริกาในทางบรรพชีวินวิทยา.

Credit : iScience (2023). DOI: 10.1016/j.isci.2023.107644

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่