ในเดือน ต.ค.นี้นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ 5,506 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่น และเชื่อว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ที่หวังมากกว่านั้นคือดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายโลก ทว่าถ้าเห็นดาวดวงนั้นจริงๆ เราจะรู้ไหมว่าคือดาวที่ตามหา ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์มองว่าต้องพึ่งพากล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

เมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยเผยแพร่บนเซิร์ฟเวอร์ arXiv จากนักวิจัย 4 คนที่ใช้แบบจำลองดาวเคราะห์เพื่อทดสอบเครื่องมือบนกล้องเจมส์ เวบบ์ ที่จะสามารถแยกวิเคราะห์ดาวเคราะห์คล้ายโลกและดาวเคราะห์คล้ายดาวศุกร์ที่อยู่ห่างเราออกไป 40 ปีแสง โดยดาวเคราะห์คล้ายโลกที่จำลองขึ้นมี 6 ดวง ส่วนดาวเคราะห์คล้ายดาวศุกร์ที่จำลองขึ้นมี 6 ดวงเช่นกัน แต่ละดวงมีระดับคาร์บอน ไดออกไซด์ในเมฆที่ปกคลุม และหมอกควันในชั้นบรรยากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งดาวเคราะห์จำลองเหล่านี้โคจรรอบดาวฤกษ์ คล้ายกันกับระบบดาวแทรพพิสต์-วัน (TRAPPIST-1) ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2560 ทั้งนี้ แทรพพิสต์-วัน เป็นหนึ่งในระบบดาวที่มีแนวโน้มจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลก เนื่องจากมีดาวเคราะห์หิน 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ โดยมี 3-4 ดวง ดูจะอยู่ในเขตเอื้ออาศัยได้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ กล้องเจมส์ เวบบ์ ได้สำรวจดาวเคราะห์ 2 ดวง ที่อยู่ด้านในสุดของระบบแทรพพิสต์-วัน ก็พบว่ามันเป็นหินแห้งแล้งคล้ายกับดาวพุธ มากกว่าจะคล้ายโลกหรือดาวศุกร์

Credit: NASA/JPL-Caltech
Credit: NASA/JPL-Caltech

...

ผลทดสอบระบุว่า เครื่องมือ NIRCSpec บนกล้องเจมส์ เวบบ์เหมาะจะใช้สังเกตการณ์ความยาวคลื่นของแสงจากดาวคล้ายโลกที่อยู่ห่างไกล เพราะสารต่างๆในชั้นบรรยากาศจะปรากฏขึ้น ซึ่งหากต้องการตรวจสอบ ว่าดาวเคราะห์มีชั้นบรรยากาศอยู่หรือไม่ โดยไม่คำนึงว่าจะคล้ายโลกหรือคล้ายดาวศุกร์ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือมองหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะมีสัญญาณที่ตรวจจับได้ง่าย และมองเห็นได้.

Credit : NASA

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่