เป็นเรื่องน่าทึ่งที่มนุษย์ใช้กล้องโทรทรรศน์บนโลกเพื่อศึกษาสภาพอากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากเรามากกว่า 4,000 ล้านกิโลเมตร เช่น ดาวเนปจูนที่อยู่ถึงขอบระบบสุริยะ เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์เผยว่าด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงโครงการสังเกตการณ์ทไวไลท์ของหอดูดาวเคก และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การนาซา สหรัฐฯ ทำให้จำกัดแบบจำลองชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศของเนปจูนกับวัฏจักรสุริยะ
นักดาราศาสตร์เผยว่านับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปีของการสังเกตดาวเนปจูน ก็พบว่าเมฆที่เห็นบนดาวเนปจูนได้อันตรธานไป ภาพจากปี พ.ศ.2537-2565 ของดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ ที่ถ่ายจากภูเขาไฟเมานาเคอา บนเกาะฮาวาย ผ่านเลนส์ของหอดูดาวดับเบิลยู.เอ็ม.เคก บวกกับมุมมองจากอวกาศผ่านกล้องฮับเบิล แสดงให้เห็นว่าเมฆของดาวเนปจูนหายเกือบไปหมด ยกเว้นตรงแถบขั้วใต้ นักดาราศาสตร์เผยว่านี่เป็นการค้นพบที่น่าประหลาดใจเนื่องจากดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์หลักที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดและได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์เพียง 1 ใน 900 เท่าเมื่อเทียบกับโลกที่ได้รับแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ก็ยังค้นพบว่ากลุ่มเมฆจำนวนมากที่ปกติเห็นในละติจูดกลางของเนปจูนเริ่มจางหายไปในปี พ.ศ.2562
อย่างไรก็ตาม ทีมยังคงติดตามกิจกรรมเมฆของดาวเนปจูน ภาพล่าสุดที่ถ่ายในเดือน มิ.ย.2566 ได้เห็นเมฆมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ละติจูดเหนือ.
(Credit : Imke de Pater, Erandi Chavez,Erin Redwing (UC Berkeley)/W. M. Keck Observatory)