การพยายามค้นหาปะการังที่กำเนิดขึ้นในระดับที่มองไม่เห็นด้วยตามนุษย์ หรือขนาดของปะการังเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรนั้น ทุกวันนี้จำเป็นต้องใช้แผ่นเทียมที่ติดอยู่กับแนวปะการังเพื่อตรวจสอบในภายหลังด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาจำนวนปะการังที่เพิ่งตั้งรกรากขึ้นใหม่
ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น ครอสส์ และองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ในออสเตรเลีย เผยงานวิจัยใหม่ระบุว่าการจับตาดูปะการังที่เพิ่งเกิดใหม่ที่ขนาดระดับต่ำกว่ามิลลิเมตรบนแนวปะการังเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) อันมีชื่อเสียงของออสเตรเลียนั้นง่ายขึ้นมาก หลังจากใช้วิธีมาโคร โฟโตแกรมเมตรี (Macro Photogrammetry) ที่เป็นการรังวัดบนภาพถ่ายที่มีระยะใกล้กว่า 10 เซนติเมตร และทำใต้น้ำเป็นครั้งแรก เพื่อหาปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระดับที่ละเอียดอย่างน่าอัศจรรย์ได้โดยตรงบนแนวปะการังเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ และด้วยวิธีการใหม่นี้ ทำให้การสังเกตสิ่งมีชีวิตขนาด 0.5 มิลลิเมตร เช่น ปะการังอายุ 2 เดือน สามารถบันทึกและติดตามเวลาในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันได้
นักวิจัยเผยว่า วิธีการใหม่นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการตรวจสอบความสำเร็จของการจัดหาปะการังใหม่หลังจากการฟื้นฟูตัวอ่อนของปะการัง ทั้งนี้ ตัวอ่อนขนาดเล็กที่เลี้ยงในสระอนุบาลปะการังลอยน้ำจะถูกปล่อยออกไปจำนวนมากบนแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเริ่มต้นการฟื้นตัวครั้งใหม่.
Credit : Marine Gouezo