การทำลายล้างอย่างรุนแรงที่เกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก ส่งผลให้ไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นกถึงแก่หายนะในเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยุคครีเตเชียส-พาเลโอจีน (K-Pg) แต่นักวิจัยก็ถกเถียงกันมานานแล้วว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก ซึ่งรวมถึงมนุษย์ เคยอาศัยอยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นั้นหรือไม่ หรือว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกจะวิวัฒนาการหลังจากที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วเท่านั้น

การศึกษาล่าสุดของทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษ และมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก ในเยอรมนี เผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลจำนวนมากจากกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก ทีมเผยว่าฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกพบได้เฉพาะในหินที่มีอายุน้อยกว่า 66 ล้านปี ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก พร้อมให้เหตุผลว่าหลักฐานฟอสซิลพวกนี้ช่วยให้ดูรูปแบบการกำเนิดและการสูญพันธุ์ของสัตว์กลุ่มต่างๆได้ รวมทั้งยังประเมินได้ว่าในช่วงเวลาใดที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกมีการวิวัฒนาการ

และเมื่อใช้การวิเคราะห์ทางสถิติไปที่ฟอสซิล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแ ก็ระบุว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกเกิดขึ้นก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ นั่นหมายความว่าพวกมันเคยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และหลังการชนของดาวเคราะห์น้อย เชื้อสายยุคใหม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกก็เริ่มมีวิวัฒนาการจนกระจายพันธุ์ได้มากขึ้นเมื่อไดโนเสาร์หายไป.