สาหร่ายทะเลมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน่าทึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามเรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์จากกระบวนการนี้ เพราะแผนในปัจจุบันเกี่ยวกับการลดการปล่อยมลพิษก็ยังไม่เพียงพอ หากต้องการบรรลุเป้าหมายการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์บางรายมองว่าควรหาหนทางเพิ่มขึ้น มากกว่าจะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ

เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (SINTEF) เผยว่ากำลังวางแผนที่จะติดตั้งศูนย์ทดสอบการเพาะสาหร่ายใน Frohavet ซึ่งเป็นผืนมหาสมุทรเปิดที่อยู่ห่างจากแผ่นดินนอกชายฝั่งเทศมณฑลเทรินเดอลาก ทางตอนกลางของนอร์เวย์ โดยสาหร่ายทะเลที่เพาะเลี้ยงในทะเลนอกชายฝั่งนี้ จะถูกเปลี่ยนเป็นถ่านชีวภาพ และจะนำไปใช้ในการปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนขั้นตอนการทำถ่านชีวภาพจากสาหร่าย จะเริ่มจากการเพาะกล้าสาหร่ายมาโคร (macroalgae) บนเชือกในห้องปฏิบัติการของ SINTEF ที่เมืองทรอนด์ ไฮม์ และในบริษัทแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่าง 2 แนวทางที่แตกต่างกัน ส่วนในฤดูใบไม้ร่วง เชือกจะนำไปติดตั้งที่สถานที่เพาะปลูกใน Frohavet

นักวิจัยเผยว่าสาหร่ายจะเติบโตอย่างช้าๆในฤดูที่มืดเร็ว แต่เมื่อฤดูหนาวลดลงและกลางวันยาวนานขึ้น การเจริญเติบโตก็จะเร็วขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาของการเจริญเติบโตนี้สาหร่ายจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และในฤดูร้อนหน้าก็พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้.

Credit : SINTEF