ดาวแคระน้ำตาลบางครั้งเรียกว่า “ดาวฤกษ์ที่ล้มเหลว” (failed stars) ไม่จัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์ ซึ่งเป็น “ดาวฤกษ์ก่อนเกิด” (protostar) ที่สว่างและเป็นก๊าซ โดยทั่วไปแล้วดาวแคระน้ำตาลมีองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศคล้ายกับดาวพฤหัสบดี แต่มีขนาดใหญ่กว่า 13-80 เท่า ที่มวลขนาดนั้น วัตถุเหล่านี้จะเริ่มหลอมรวมไอโซโทปไฮโดรเจนในแกนกลางของตน ทว่าดาวแคระน้ำตาลมีมวลไม่มากพอที่จะจุดการหลอมรวมของดาวฤกษ์ได้อย่างสมบูรณ์และให้พลังงานแก่ดาวฤกษ์ เปรียบเทียบก็ลองนึกถึงถ่านที่คุกรุ่น แทนที่จะเป็นเตาไฟที่ลุกโชนเหมือนดวงอาทิตย์ของเรา

เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์ได้รายงานลงวารสาร Nature Astronomy เผยผลการศึกษาวัตถุชื่อ WD0032-317B เป็นดาวแคระน้ำตาลอยู่ห่างจากโลก 1,400 ปีแสง แต่มันต่างจากดาวแคระน้ำตาลทั่วๆ ไป เพราะวัดอุณหภูมิพื้นผิวพบว่าร้อนถึง 7,700 องศาเซลเซียส ขณะที่ดาวแคระน้ำตาลส่วนมากมักจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิราว 2,200 องศาเซลเซียส ถือว่าค่อนข้างเย็นเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ซึ่งมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 3,700 องศาเซลเซียส การที่ WD0032-317B ร้อนถึง 7,700 องศาเซลเซียส นับว่าร้อนมากพอที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศจะแตกออกเป็นอะตอม ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์ของเราหลายพันองศาเซลเซียส

เหตุที่ WD0032-317B ร้อนมาก ก็เพราะโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดๆ ใกล้มากถึงด้านหนึ่งของดาวหันหน้าเข้าหาดาวฤกษ์ตลอดเวลา ขณะที่อีกด้านหนึ่งหันหลังแบบถาวร และเป็นไปได้ว่าดาวฤกษ์ที่ร้อนแรงจะค่อยๆกลืนกินดาวคู่ของมันอย่างช้าๆ.

Credit : NASA Goddard