เมื่อปี 2565 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งจีน ประกาศระหว่างการเยือนประเทศไทยว่า จีน-ไทย และจีน-อาเซียน จะสร้างประชาคมที่มี “ชะตากรรม” ร่วมกัน
ถือเป็นจุดยืนที่ชัดเจน ที่หวังยกระดับสัมพันธ์ให้เหนือยิ่งกว่าพี่น้องกันใช่อื่นไกล ซึ่งในกรณีนี้ งานสัมมนาของไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (CMG) สื่อหลักของจีนร่วมกับกระทรวง อว. กลุ่มคลังสมอง ภาคธุรกิจและสื่อมวลชนในประเทศไทย เมื่อสัปดาห์ก่อนได้บ่งชี้ว่า การจะไปถึงจุดนั้นได้ จะต้องมีสเต็ปต่อไปคือ การทำความเข้าใจ “แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน” หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ “ความเจริญที่จีนสร้างขึ้นมาเองโดยไม่ลอกเลียนแบบใคร”
ทั้งนี้ ในงานสัมมนามีรายละเอียดว่า ผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาอย่างสันติแบบวิน-วิน เป็นหลักสำคัญของแนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประเทศจีนนำวัคซีนโควิด-19 เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะเพื่อช่วยให้ประเทศกําลังพัฒนา จีนใช้เวลาสิบปีในการส่งเสริมความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (BRI) และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางรถไฟระหว่างจีนกับลาว-ไทย
ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนเป็นแผนงานของจีน การแสดงภูมิปัญญาแบบจีน โดยมีความแข็งแกร่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความแข็งแกร่งของชาติแบบบูรณาการ และเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก “จีนกำลังก้าวไปสู่ความทันสมัยแบบจีน”
ความทันสมัยไม่มีมาตรฐานและคําตอบที่เป็นหนึ่งเดียว ความทันสมัยแบบจีนทําให้โลกได้เห็นเส้นทางใหม่ของความทันสมัยที่พัฒนาอย่างสันติ และความทันสมัยควรอาศัยการรับรู้ทางสังคมภายใต้วัฒนธรรม
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไฮเทคของจีนเป็นที่ชื่นชอบของตลาดไทย รถยนต์พลังงานใหม่ของจีนมีการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมไฮเทคของจีนเพิ่มความสะดวกสบายและความสุขให้ชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าความทันสมัยแบบจีนกำลังเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปอย่างลึกซึ้ง
...
ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แนวคิดการพัฒนาระดับโลก และประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่ สิ่งเหล่านี้พ่วงด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างจีนและไทย จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาภูมิภาคต่อไป.
ตุ๊ ปากเกร็ด