หมู่เกาะเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ว่าพื้นที่ที่เป็นหมู่เกาะจะน้อยกว่า 7% ของพื้นที่โลก แต่สิ่งมีชีวิตบนเกาะก็มีสัดส่วนมากถึง 20% ของสิ่งมีชีวิตบนบก ด้วยความเป็นเกาะจึงมีสัตว์ที่แปลกประหลาดมากมาย ซึ่งทางชีววิทยาวิวัฒนาการอธิบายว่าสายพันธุ์ขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะลดขนาดลงเมื่ออยู่บนเกาะ ขณะที่สายพันธุ์ขนาดเล็กจะตัวใหญ่ขึ้น เช่น ช้างแคระตัวเท่าม้าแคระพันธุ์เชตแลนด์ ที่เคยอยู่บนเกาะไซปรัส ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส หรือหนูยักษ์รูปร่างคล้ายหนู มีน้ำหนัก 180 กิโลกรัม เทียบได้กับหมีดำอเมริกัน

ตอนนี้สัตว์บนเกาะมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ผลวิจัยใหม่จากทีมที่นำโดยนักบรรพชีวินวิทยาแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ของมหาวิทยาลัยมาร์ติน ลูเทอร์ แห่งฮัลเลอ-วิทเทินแบร์ค ในเยอรมนี ระบุว่า ได้ทวีความรุนแรงขึ้น คุกคามสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะพิเศษที่สุดในโลกบางชนิด หลังตรวจสอบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอยู่ 1,231 ชนิด และอีก 350 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วในช่วง 23 ล้านปีที่ผ่านมา เน้นไปที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนเกาะ ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์พบได้มากที่สุดในพวกที่มีการเปลี่ยนขนาดร่างกายอย่างสุดโต่งเมื่อเทียบกับพวกเดียวกันบนแผ่นดินใหญ่ และการที่มนุษย์มาถึงเกาะก็ได้เพิ่มอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์พวกนี้มากกว่า 10 เท่า

ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังพบว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการสูญพันธุ์บนเกาะ เริ่มขึ้นเมื่อ กว่า 100,000 ปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังการเข้ามาของมนุษย์ยุคปัจจุบันซึ่งมีการล่าสัตว์ที่มากเกินไป.