บิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีพันล้าน ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสภาพอากาศของออสเตรเลีย ซึ่งมีแผนจะลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการเรอของวัว

ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์แสดงความสนใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการผลิตเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่พบมากที่สุดรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปศุสัตว์ เช่น วัว แพะ และกวาง จะผลิตก๊าซมีเทนเมื่อกระเพาะของพวกมันทำลายเส้นใยแข็ง เช่น หญ้า เพื่อการย่อยอาหาร กระบวนการหมักนี้จะสร้างก๊าซมีเทน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกปล่อยออกมา

ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่าการให้อาหารวัวด้วยสาหร่ายสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้อย่างมาก

รูมินเอท (Rumin8) บริษัทสตาร์ทอัพในเมืองเพิร์ท กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งจำลองแบบสังเคราะห์จากสาหร่ายทะเลสีแดง ซึ่งจะหยุดการสร้างก๊าซมีเทน

บริษัทระบุในแถลงการณ์ว่าได้ระดมทุน 12 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 390 ล้านบาท) ในรอบการระดมทุนที่นำโดยกองทุน Breakthrough Energy Ventures ซึ่งบิล เกตส์ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 นอกจากนี้ บริษัทด้านการลงทุนยังได้รับการสนับสนุนจากเจฟฟ์ เบซอส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอมะซอน และแจ็ค หม่า ผู้ร่วมก่อตั้งอาลีบาบา

เดวิด เมสซินา กรรมการผู้จัดการของ รูมินเอท กล่าวว่า "เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับการต้อนรับที่เราได้รับจากกองทุนผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก เราต้องการที่จะจัดหาเงินทุนในการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซมีเทนในลำไส้จากปศุสัตว์ และโชคดีพวกเขาเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีของเรา" 

เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว นิวซีแลนด์ เสนอให้เก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกที่สัตว์เลี้ยงในฟาร์มผลิตจากการเรอและปัสสาวะเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งโครงการในลักษณะดังกล่าวถือเป็นโครงการแรกของโลก โดยเกษตรกรจ่ายเงินสำหรับการปล่อยมลพิษทางการเกษตรในบางรูปแบบภายในปี 2568

...

เกือบครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศมาจากการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน

ในปี 2562 ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศมีระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 2 เท่าครึ่ง

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลก็คือ ก๊าซมีเธนเป็นก๊าซที่มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้โลกร้อนขึ้น โดยโมเลกุลของมีเทนแต่ละโมเลกุลมีผลทำให้บรรยากาศร้อนขึ้นมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โมเลกุลเดี่ยว.