หลักฐานการทำอาหารที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในขณะนี้ มีอายุประมาณ 170,000 ปีที่แล้ว แต่สิ่งที่ยังเป็นปริศนาก็คือมนุษย์ยุคแรกเริ่มใช้ไฟในการปรุงอาหารเมื่อไหร่กันแน่ ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงมากว่าศตวรรษ แต่เมื่อเร็วๆนี้ มีการค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญที่ดูจะช่วยไขความกระจ่างได้
หลักฐานดังกล่าวคือ ซากฟอสซิลปลาคาร์ปขนาดใหญ่ ยาว 2 เมตร ที่พบในแหล่งโบราณคดี Gesher Benot Ya’aqov (GBY) ในอิสราเอล ซึ่งทีมวิจัยนำโดยนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสตีนฮาร์ท ศูนย์การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติของอิสรา เอลที่มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ เผยว่า เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของผลึกที่ก่อตัวเป็นเคลือบฟันปลา ซึ่งผลึกจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเมื่อสัมผัสกับความร้อน นักวิจัยจึงพิสูจน์ได้ว่าปลาที่จับได้ที่ทะเลสาบฮูลาโบราณอยู่ติดกับบริเวณแหล่งโบราณคดีนั้น ปลาได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปรุงอาหาร และไม่ได้ถูกเผาด้วยไฟที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทีมระบุว่า ปลาตัวนี้ถูกปรุงอาหารเมื่อประมาณ 780,000 ปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนข้อมูลที่มีอยู่ประมาณ 600,000 ปี
นั่นหมายความว่า ความสามารถในการทำอาหาร แปรรูปอาหาร โดยการควบคุมอุณหภูมิที่อาหาร เช่น การได้รับความร้อนและวิธีการที่หลากหลาย เกิดขึ้นมานานหลายแสนปีแล้ว และยังทำให้นักวิจัยสร้างภาพของประชากรปลาในทะเลสาบฮูลาโบราณขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก เพื่อชี้ให้เห็นว่าทะเลสาบมีพันธุ์ปลาที่สูญพันธุ์ไปตามกาลเวลา.