คอนกรีตธรรมดาเป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยมีการใช้ 25,000 ล้านตันทุกปี แต่เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ประมาณ 30% แถมยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 8% ในชั้นบรรยากาศ และลงเอยที่หลุมฝังกลบมากถึง 50% ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้นักวิจัยพยายามคิดค้นวัสดุทางเลือกที่มีความยั่งยืนและสร้างปัญหาน้อยกว่าคอนกรีตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆนี้ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นว่าวัสดุทางที่ใช้ในงานก่อสร้างอย่าง จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ที่เสริมด้วยเส้นใยธรรมชาติให้นำกลับมาใช้ใหม่ หรือเสริมด้วยผลิตภัณฑ์พลอยได้ทางอุตสาหกรรม จากทราย หรือผลจากของเสียจากการถลุงตะกั่วหรือการผลิตแก้ว สามารถจับคู่ความแข็งแรง ความทนทาน ผลการทดสอบชี้ว่าจีโอโพลีเมอร์ที่ใช้ทรายเศษแก้วมีความแข็งแรงและการดูดซึมน้ำต่ำกว่าที่มีทรายจากแม่น้ำตามธรรมชาติ ในขณะที่จีโอโพลีเมอร์ที่มีตะกรันถลุงตะกั่ว มีการหดตัวจากการอบแห้งที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจีโอโพลีเมอร์ที่มีทรายแม่น้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังใช้เส้นใยธรรมชาติ เช่น ป่าน ป่านศรนารายณ์ กัญชง ใยมะพร้าว ปอกระเจา และไม้ไผ่ ก็ถูกรวมเข้าในการทดลองด้วย
ทีมระบุว่าจีโอโพลีเมอร์ที่ประกอบด้วย 1% ของเส้นใยป่าน กัญชง และไม้ไผ่ และ 2% ของเส้นใยป่าน มีกำลังรับแรงอัดและแรงดึงที่สูงกว่าและการหดตัวเมื่อทำให้แห้งต่ำกว่าจีโอโพลีเมอร์ที่ไม่เสริมแรง ในขณะที่จีโอโพลีเมอร์ที่มีเส้นใยป่าน 1% มีความแข็งแรงสูงสุดและการหดตัวต่ำสุดในการทำให้แห้ง.