เมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน ไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่บนบกได้สูญพันธุ์ไปหลังจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกครั้งใหญ่ตรงบริเวณที่เป็นอ่าวเม็กซิโกในปัจจุบัน ตามทฤษฎีที่เชื่อกัน แต่สิ่งที่นักวิจัยสงสัยก็คือหลังจากไดโนเสาร์ถูกกวาดล้างไป สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นอย่างไร ซึ่งมีการวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยจากอังกฤษ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เผยว่าจากการศึกษาวิจัยซากฟอสซิลของสัตว์ตัวหนึ่งที่ชื่อ Pantolambda bathmo don เป็นสมาชิกของกลุ่ม pantodonts ซึ่ง Pantolambda bathmodon มีลักษณะคล้ายสุกร มีชีวิตอยู่ประมาณ 62 ล้านปีก่อน นับเป็นเวลาเพียง 4 ปีหลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ผลการวิจัยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของสัตว์ชนิดดังกล่าวได้ เช่น อายุในครรภ์ สิ่งที่สัตว์กินตลอดช่วงชีวิต และอายุขัยของสัตว์ชนิดนี้

นักวิจัยพบว่า Pantolambda ตัวนี้ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7 เดือน โดยนานพอที่ตัวอ่อนในครรภ์จะพัฒนาเป็นทารกที่สามารถอยู่รอดได้เกือบจะทันทีหลังคลอด เนื่องจากมันมีฟันอยู่แล้ว และยังพบว่าสัตว์ชนิดนี้เติบโตอย่างรวดเร็วแต่ก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน แค่ราวๆ 10 ปีเท่านั้น.

ภาพจาก dailymail.co.uk