ในเทือกเขาแอลป์ของฝรั่งเศสจะเห็นความโดดเด่นอย่างหนึ่งในช่วงต้นฤดูร้อน นั่นคือมีหิมะสีแดงเป็นหย่อมๆ เป็นประกายท่ามกลางแสงแดดในเทือกเขา นักวิทยาศาสตร์ระบุว่านั่นไม่ใช่โลหิต สีแดงเข้มเกิดจากการมีสาหร่าย และปรากฏการณ์นี้ทำให้หิมะละลายเร็วขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ

สาหร่ายเหล่านี้ถูกอธิบายครั้งแรกโดยอริสโต เติลในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ถูกระบุอย่างเป็นทางการและตั้งชื่อในภาษาละตินว่า Sanguina nivaloides เมื่อปี 2562 และเป็นตัวการที่ทำให้หิมะเป็นสีแดง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของเกรอน็อบล์ ในฝรั่งเศส อธิบายว่าสาหร่ายขนาดเล็กโดยทั่วไปมีสีเขียว แต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสัมผัสกับรังสีดวงอาทิตย์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเมื่อสาหร่ายอยู่ในหิมะมันจะสะสมเม็ดสี เฉกเช่นครีมกันแดดใช้ป้องกันความเข้มของแสง สาหร่ายก็ปกป้องตัวเองในแบบเดียวกัน และโดยพื้นฐานแล้วความเป็นสีเขียวก็ถูกซ่อนอยู่หลังเกราะสีแดงขนาดใหญ่

...

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมของศูนย์วิจัย ได้เก็บตัวอย่างสาหร่ายบนภูเขาบราวัง ในฝรั่งเศสเพื่อเร่งทำความเข้าใจให้ดีขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป เนื่อง จากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังกระทบกับเทือกเขาแอลป์อย่างหนักในแบบไม่สมส่วนด้วย นักวิทยาศาสตร์บางรายเผยว่าปริมาณของสาหร่ายดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเติบโต และหากสาหร่ายแพร่กระจายไปมากเท่าไหร่ก็จะเร่งการละลายหิมะและธารน้ำแข็งเร็วขึ้น.