คนเราต่างมีหลายวิธีในการจัดประเภทตัวเลขเป็นคู่หรือคี่ เช่น อาจจำกฎว่าเลขที่ลงท้าย 1, 3, 5, 7, 9 เป็นเลขคี่ ขณะที่เลขที่ลงท้าย 0, 2, 4, 6, 8 เป็นเลขคู่ หรืออาจหารตัวเลขด้วย 2 โดยที่ผลลัพธ์ของจำนวนเต็มใดๆนั้นจะเป็นเลขคู่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็จะต้องเป็นเลขคี่ในทำนองเดียวกัน เมื่อจัดการกับวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริง เราสามารถใช้วิธีการจับคู่ เช่น หากมีองค์ประกอบที่จับคู่ไม่ได้เหลืออยู่ แสดงว่าจำนวนของวัตถุนั้นเป็นเลขคี่
ทั้งนี้ การจัดประเภทของความเป็นคี่หรือเป็นคู่ ไม่เคยมีให้เห็นในสัตว์อื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่ล่าสุด มีงานวิจัยของนักวิจัยกลุ่มหนึ่งเผยแพร่ในวารสาร Frontiers in Ecology and Evolution แสดงให้เห็นว่าผึ้งสามารถเรียนรู้และชี้ความแตกต่างระหว่างเลขคี่และเลขคู่ได้ จากการแยกผึ้งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกถูกฝึกให้เชื่อมโยงเลขคู่กับน้ำเชื่อม และเลขคี่กับของเหลวรสขม (ควินิน) ส่วนอีกกลุ่มถูกฝึกให้เชื่อมโยงเลขคี่กับน้ำเชื่อม และเลขคู่กับของเหลวรสขม (ควินิน) ผึ้งแต่ละตัวจะถูกฝึกให้เปรียบเทียบตัวเลขคี่กับเลขคู่ ด้วยการ์ดที่มีรูปทรงพิมพ์ 1-10 แบบ จนกว่าพวกผึ้งจะเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งในวิดีโอที่บันทึกไว้จะเห็นว่านักวิจัยฝึกให้ผึ้งเลือกเลขคู่ ผึ้งจะบินตรวจสอบการ์ดแต่ละใบบนหน้าจอ ก่อนทำการเลือกที่ถูกต้องบนการ์ดที่มีรูปทรงเป็นเลขคู่ ทั้งนี้ การทดสอบพบว่ามีความแม่นยำ 80%
สิ่งที่น่าทึ่งคือผึ้งแต่ละกลุ่มเรียนรู้ในอัตราที่ต่างกัน ผึ้งที่ถูกฝึกฝนให้เชื่อมโยงเลขคี่กับน้ำเชื่อมมีการเรียนรู้ได้เร็ว ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าสมองขนาดเล็กของผึ้งสามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องคี่และคู่ได้ ดังนั้น นับประสาอะไรกับสมองของมนุษย์ที่ใหญ่และซับซ้อนซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท 86,000 ล้านเซลล์ และสมองแมลงขนาดเล็กที่มีเซลล์ประสาทประมาณ 960,000 เซลล์ ก็สามารถจัดหมวดหมู่ตัวเลขคู่และคี่ได้.
...