การตั้งขึ้นเป็นสมาคมฯ ของโอโมดะ ก็ไต่เต้าสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้นจนมีโครงการพร้อมใบรับรองสำหรับ “มิซุฮิกิ ไทอิชิ” หรือ “ทูตมิซุฮิกิ”

“ตำแหน่งนี้ไม่เฉพาะมีหน้าที่ในการสอนคนอื่นเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทการเป็นทูตส่งเสริมส่งต่อความเป็นมิซุฮิกิ” โอโมดะที่รับหน้าที่เป็นครูสอนร่วมกับครูผู้อื่นรวม 6 คน มีนักเรียนทั้งในและต่างประเทศ จนถึงขณะนี้มีอยู่แล้วราว 200 คน

นักเรียนที่เรียนผ่านระดับตั้งไข่ ขั้นปานกลางและขั้นก้าวหน้า ก็จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากที่ปรึกษาให้เข้าไปสมัครเป็นทูต ใบประกาศที่จะได้รับหลังสรรค์สร้างงานดั้งเดิมได้ และจัดทำจำลองการเรียนการสอนได้

ยูการิ โจ นักจัดวางดอกไม้ที่อยู่ในกรุงโตเกียว เป็นหนึ่งในตำแหน่งทูตไม่กี่คนในปัจจุบัน ประกอบงานสร้างสรรค์ด้วยการใช้ดอกไม้กับมิซูฮิกิเป็นสององค์ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเธอเผยว่าคล้ายกับการมอบ “ความสบาย” ให้กับผู้รับ

ความจริงโอกาสของทางสมาคมฯที่จะทำให้กระจายไปถึงผู้คนได้กว้างก็ช่วงการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ แล้วโอโมดะ ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ได้รับเชิญให้ไปสาธิตการทำมิซุฮิกิ ตามแผนส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่สุดท้ายก็ต้องถ่ายทอดทางออนไลน์แทนเพราะการระบาดของเชื้อโควิด-19

นอกเหนือจากยูการิ โจ แล้วยังมีนักเรียนต่างชาติ อย่างเม็ก ล็องแกลร์ส นักศึกษาชาวแคนาดาอายุ 22 ปี ด้วยเพราะมีย่าทวด ชื่อ มาการ์เร็ต โดอิ เป็นชาวญี่ปุ่น เมื่อวันคริสต์มาสปีที่แล้ว เม็กได้รับชุดมิซุฮิกิจากแม่ตัวเอง แล้วยังได้อุปกรณ์เครื่องมือและงานบางชิ้นจากย่าทวด

“มันทำให้ฉันรู้สึกเชื่อมถึงคุณย่าทวดถึงแม้ไม่เคยเจอหน้าท่าน”

...

ไม่เพียงแต่เป็นลูกศิษย์ที่รักอย่างเป็นจริงเป็นจัง เม็กยังเปิดบัญชีอินสตาแกรมเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่ผูกพันกับมิซุฮิกิจนได้พบกับโอโมดะ ที่รับเป็นที่ปรึกษา “มิซุฮิกิไม่เป็นที่รู้จักในแคนาดาเลย ไม่เหมือนการพับกระดาษ โอริกามิ ตัวฉันก็เหมือนคนอื่นๆ ที่รู้ถึงความหมายแฝงการผูกเงื่อน เช่น ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง หรือมิตรภาพ”

แล้วตอนนี้เม็กก็ได้เปิดเวิร์กช็อปสอนการทำมิซุฮิกิที่มหา’ลัยตัวเอง รวมถึงนักศึกษาที่เป็นชาวญี่ปุ่นด้วย และหวังไว้ด้วยว่าสักวันจะได้เป็นทูต “เพราะนี่ไม่ใช่แค่งานมือประดิษฐ์ แต่เป็นงานที่เชื่อมโยงกับคน”.

ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ