• ผู้นำจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลกเตรียมพบปะหารือกันในการประชุม COP26 เพื่อหาทางแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ออกโรงเตือนไปก่อนแล้วว่า เราเหลือเวลาไม่มากแล้ว

  • ในการประชุมครั้งนี้ มีการคาดหวังอย่างมากกว่าผู้นำโลกจะมีมาตรการใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เพื่อให้สามารถรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามเป้าหมายได้

  • แต่ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่เหล่าผู้นำโลกต้องเผชิญ ทั้งในเรื่องงบประมาณสำหรับช่วยเหลือชาติกำลังพัฒนา หรือความจริงใจของหลายๆ ประเทศในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

โลกกำลังร้อนขึ้นจากก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มนุษย์ใช้งาน ปรากฏการณ์สภาพอากาศสุดขั้วต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อน, น้ำท่วม และไฟป่าก็กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อุณหภูมิโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานับว่าร้อนทุบสถิติ

ด้วยวิกฤติดังกล่าว ทำให้เกือบทุกปีนับตั้งแต่ปี 2538 ผู้นำประเทศจากทั่วโลกจะเดินทางมาพบปะกันเพื่อหารือในเรื่องการตอบสนองของโลกต่อปัญหาสภาพอากาศ ในการประชุมซึ่งรู้จักกันในชื่อ “การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา” (Conference of the Parties หรือ COP) ครั้งที่ 26

ประเทศภาคีอนุสัญญา หรือ Parties ที่ว่า คือกว่า 190 ประเทศหรือดินแดนที่ร่วมลงนามใน “กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (UNFCCC) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาณสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อการแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึง ปาเลสไตน์, หมู่เกาะคุ้ก และประเทศนีอูเอ โดยมีสันตะสำนักแห่งวาติกันเป็นผู้สังเกตการณ์

การประชุม COP ครั้งที่ 26 ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นที่เมืองกลาสโลก ของสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 1 – 12 พ.ย.นี้ ความจริงควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว แต่กำหนดการต้องถูกเลื่อนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่การประชุมครั้งนี้ก็ได้รับการจับตามองอย่างมาก ท่ามกลางความคาดหวังในตัวผู้นำโลก เพราะ เราอาจเหลือเวลาพลิกสถานการณ์ของภาวะโลกร้อนไม่มากแล้ว

...

ทำไมการประชุม COP26 จึงสำคัญ?

ความสำคัญของการประชุม COP26 ต้องย้อนกลับไปถึงการประชุมครั้งที่ 21 เมื่อปี 2558 โดยในครั้งนั้น ผู้นำโลกได้ร่วมลงนามข้อตกลงต้านโลกร้อนฉบับประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งนานาชาติเหตุชอบที่จะพยายามจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่เป้าหมายในอุดมคติคือ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติสภาพอากาศ

นานาชาติจะต้องยื่นแผนปฏิบัติงานของตัวเอง เพื่อบอกว่า พวกเขาจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และการประชุมครั้งที่ 26 นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการทบทวนแผนการฉบับล่าสุดของแต่ละประเทศ

นอกจากนั้น การประชุมครั้งที่ 26 ยังเกิดขึ้นในปะ 2564 ซึ่งถูกระบุว่า เป็นช่วงเวลาที่ ถ้า “ไม่ทำ” ก็ “พัง” ในการรับมือภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศ เพราะรายงานสภาพอากาศของ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมชี้ว่า โลกกำลังร้อนเร็วขึ้น และมนุษย์แทบไม่เหลือเวลาที่จะป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้ว

จะมีการตัดสินใจอะไรเกิดขึ้นในบ้าง?

อย่างที่ระบุไปข้างต้น หลายประเทศตะเปิดเผยแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองก่อนที่การประชุมจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งจะทำให้เห็นภาพกว้างๆ ได้ว่า เรายังอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องหรือไม่ ในระหว่างการประชุม 2 สัปดาห์ ผู้สังเกตการณ์คาดหวังอย่างมากกว่าจะมีการประกาศเรื่องใหม่ๆ รวมถึงเรื่องทางเทคนิคอย่างกฎหลายข้อที่จำเป็นต่อการบังคับใช้ความตกลงปารีส

นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังในเรื่องมาตรการอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้เร็วขึ้น, เร่งยุติการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยถ่านหิน, การลดการตัดไม้ และการปกป้องผู้คนจากผลกระทบจากภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาทิ สนับสนุนเงินทุกช่วยเหลือชุมชนชายฝั่งทะเล

ขณะที่ความเคลื่อนไหวในอุดมคติที่ชี้ว่า การประชุมครั้งที่ 26 นี้ประสบความสำเร็จคือ ทุกประเทศออกแถลงการณ์ร่วมกัรอย่างหนักแน่นเพื่อย้ำอีกครั้งในคำมั่นสัญญาที่จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น 0 ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และลดการปล่อยให้ได้อย่างมากภายในปี 2573 รวมทั้งให้คำมั่นเรื่องการหยุดใช้ถ่านหิน, รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และปกป้องธรรมชาติ

แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญหลายอย่าง

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะมีการหารือกันอย่างหนักในเรื่องงบประมาณและความเป็นธรรมทางสภาพอากาศ (climate justice) เพราะชาติกำลังพัฒนามักจะมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคนต่ำกว่าชาติพัฒนาแล้ว และมีส่วนรอบผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจำที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพียงเล็กน้อย แต่พวกเขากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

ชาติกำลังพัฒนาจำเป็นต้องได้รับเงินทุนเพื่อช่วยพวกเขาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป รวมทั้งยังมีการต่อสู้กันในเรื่องเงินชดเชยสำหรับชาติกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอีกด้วย โดยในประ 2552 กลุ่มประเทศร่ำรวยสัญญาจะมอบเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนทุกปีจนถึงปี 2563 แต่พวกเขายังไม่เคยระดมเงินได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้เลย

นอกจากนั้น ท่าที่ของจีนในการประชุม COP26 ก็ได้รับการจับตามองอย่างมาก เนื่องจากพวกเขาคือผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผู้ใช้ถ่านหินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญมากว่า จีน กับผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ รวมทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย จะมีแผนและยินยอมพร้อมใจในการลดการพึ่งพาพลังงานเหล่านี้มากน้อยเพียงไร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เร็วที่สุด



ผู้เขียน : ทิตชนม์ สว่างศรี

ที่มา : euronewsskybbc

...