ประการที่สาม ยึดมั่นในการเปิดกว้างและแบ่งปัน ซึ่งเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2557 รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยและจีนร่วมกันลงนาม “หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือในการสร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย” และเมื่อปีกลายได้มีการประกาศเปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรมจีน-ไทย-อาเซียน” ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการค้าเทคโนโลยีและผู้ให้บริการด้านนวัตกรรม มาปีนี้ทางศูนย์กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจัดงาน “การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการแพทย์และสุขภาพจีน-ไทย”
ประการที่สี่ ยึดมั่นความสัมพันธ์และร่วมกันปลูกฝังความสามารถของเยาวชนชาวจีนและไทย โดยร่วมกันส่งเสริมจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียนแห่งศูนย์นวัตกรรมกรุงเทพฯ สำรวจการจัดตั้งคณะทำงานที่ร่วมโครงการทำงานที่เป็นมาตรฐานอีกทั้งเพิ่มระดับความร่วมมือแบบทวิภาคี เสริมสร้างการแบ่งปัน เจาะลึกศักยภาพของความร่วมมือ โดยผ่านคณะทำงาน จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีหลายมิติทั้งออนไลน์และออฟไลน์
และสุดท้าย การสนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมดำเนินการตาม “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาที่ประเทศจีน” และ “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่จากอาเซียนเข้ามาทํางานวิจัยในจีน” และยืนหยัดในการจัด “หลักสูตรฝึกอบรมระหว่างประเทศจีน-อาเซียนสําหรับผู้จัดการด้านเทคนิค”
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ยินดีต้อนรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศไทยมายังกว่างซี เพื่อดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะสั้นและการฝึกอบรมด้านเทคนิค เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนและแก้ปัญหาทางเทคนิคที่จีนและไทยกำลังเผชิญอยู่ มีการ ดำเนินการจัดตั้งทีมวิจัยร่วมกัน เพื่อดำเนินการวิจัยทางเทคนิคและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและทางปัญญาอย่างแข็งแกร่งสําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูงของจีนและไทย
...
“เราลงเรือลำเดียวกัน แล่นไปด้วยกัน เป็นระยะทางหลายพันไมล์ ผ่านลมและคลื่น ซัดสาด ผมหวังว่าเราจะจับมือกันเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสของความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีจีน-ไทย”.