พลาสติกชิ้นเล็กจิ๋วนั้นแทรกตัวอยู่ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่สภาพแวดล้อมในเมืองไปจนถึงถิ่นห่างไกลมลพิษ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าพลาสติกจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ จริงอยู่ที่สารประกอบที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งถูกกระตุ้นโดยแสงแดดสามารถเร่งกระบวนการได้ แต่การทำให้สารประกอบเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับไมโครพลาสติกที่มีขนาดไม่ถึง 5 มิลลิเมตรนั้นทำได้ยาก
ล่าสุด มีรายงานใน ACS Applied Materials & Interfaces เผยว่า มีกลุ่มวิจัยได้พัฒนาไมโครโรบอทแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่สามารถว่ายน้ำและยึดติดกับพลาสติกจากนั้นก็ทำลายพลาสติกเหล่านั้นได้ ในรายงานระบุว่าในการเปลี่ยนวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาให้เป็น “ไมโครโรบอท” ที่ขับเคลื่อนด้วยแสง พวกเขาได้สร้างอนุภาครูปดาวของสารประกอบอนินทรีย์ที่เรียกว่าบิสมัทวานาเดต (Bismuth vanadate-BiVO4) แล้วเคลือบโครงสร้างที่มีความกว้าง 4-8 ไมโครเมตรอย่างสม่ำเสมอด้วยเหล็กออกไซด์ ไมโครโรบอทนี้จะว่ายไปตามช่องว่างท่ามกลางความยุ่งเหยิงของไมโครพลาสติก เพื่อจัดการกับชิ้นส่วนไมโครพลาสติกตลอดความยาวของพวกมัน
นักวิจัยพบว่าภายใต้แสงที่มองเห็นได้ ไมโครโรบอทจะมุ่งไปที่พลาสติกทั่วไป 4 ประเภท ทีมได้ฉายแสงไปยังชิ้นส่วนพลาสติก 4 ประเภทที่เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาไมโครโรบอทซึ่งอยู่ในสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เจือจางเป็นเวลา 7 วัน ทีมสังเกตพบว่าพลาสติกสูญเสียน้ำหนักไป 3% และพื้นผิวเปลี่ยนจากเรียบเป็นหลุม ทั้งยังพบโมเลกุลจิ๋วและส่วนประกอบของพลาสติกในสารละลายที่เหลือ ชี้ให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยาไมโครโรบอทที่ขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ ปูทางไปสู่ระบบที่สามารถดักจับและย่อยสลายไมโครพลาสติกในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก.
Credit : Adapted from ACS Applied Materials & Interfaces.
...