ดาวบีเทลจุส (Betelgeuse) เป็นดาวฤกษ์สีส้มสุกสว่างตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน ทว่ากลับอับแสงลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปลายปี พ.ศ.2562 ทว่าช่วงต้นปี 2563 ดาวดวงนี้กลับทำให้ชุมชนดาราศาสตร์รู้สึกงงงวยอย่างมาก หลังจากนักดาราศาสตร์ได้เผยแพร่ภาพใหม่ของพื้นผิวดาวฤกษ์ดวงนี้ ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์วีแอลที ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป

ภาพปรากฏอย่างชัดเจนว่าความสว่างของดาวบีเทลจุสเปลี่ยนไปอย่างไร การหรี่แสงและกลับมาสว่างของดาวฤกษ์ดวงนี้สร้างความท้าทายให้นักดาราศาสตร์พยายามไขความกระจ่าง ในที่สุดงานวิจัยชิ้นใหม่จากนักดาราศาสตร์ของหอดูดาวปารีส ในฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน ในเบลเยียม ก็เปิดเผยว่า การหรี่แสงอย่างลึกลับของดาวบีเทลจุสนั้นเป็นเพราะบางส่วนของดาวถูกบดบังโดยกลุ่มฝุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิที่ลดลงบนพื้นผิวดาวเอง เพราะพื้นผิวของดาวบีเทลจุสเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเมื่อฟองก๊าซขนาดยักษ์เคลื่อนตัว หดตัว และพองตัวภายในดาว ทีมสรุปว่าช่วงหนึ่งของก่อนสิ่งที่เรียกว่า “เกิดภาวะโลกมืด” (Great Dimming) ดาวฤกษ์ได้พุ่งฟองก๊าซขนาดใหญ่ให้เคลื่อนตัวออกห่างจากมัน เมื่อพื้นผิวบางส่วนเย็นลงหลังจากนั้นไม่นาน อุณหภูมิที่ลดลงก็เพียงพอต่อการที่ก๊าซจะควบแน่นเป็นฝุ่นที่เป็นของแข็ง

ทีมนักดาราศาสตร์เผยว่า ยังคงสังเกตดาวดวงนี้ต่อไปในช่วง “ภาวะโลกมืด” โดยจับภาพอีก 2 ภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในเดือน ม.ค., มี.ค. และอีกครั้งภายในเดือน เม.ย. ของปี พ.ศ.2563 ก็พบว่าดาวบีเทลจุสกลับมามีความสว่างตามปกติ.

Credit : ESO/M. Montarg s et al.

...