ไก่งวงเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงไม่กี่ชนิดที่เลี้ยงกันตามบ้านเรือนผู้คนในอเมริกาเหนือจนกระทั่งชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานช่วงปี 1500-1600 สัตว์ชนิดนี้มีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องในชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านอินเดียนแดง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยนำโดยนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตต ในสหรัฐอเมริกา รายงานผลวิจัยผ้าห่มขนสัตว์โบราณที่ช่วยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของการเลี้ยงไก่งวงของคนยุคนั้น

ทีมวิจัยเผยว่า จากการวิเคราะห์ผ้าห่มขนไก่งวงอายุประมาณ 800 ปี ขนาด 99×108 เซนติเมตร ที่ได้มาจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐยูทาห์ เพื่อสืบค้นถึงแนวคิดว่าผ้าห่มถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าขนไก่งวงอันอ่อนนุ่มหลายพันเส้นถูกพันรอบกับเส้นใยต้นยัคคามีความยาวถึง 180 เมตร พร้อมระบุว่า ชาวอเมริกันโบราณที่อาศัยในพื้นที่ดอนแถบตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาใช้ขนไก่งวงประมาณ 11,500 ตัว มาทำผ้าห่มขนไก่งวง ทั้งนี้ มีข้อสันนิษฐานอย่างกว้างขวางเสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือขนนก เป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวของมนุษย์ไปสู่สภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นในที่สูง อย่างที่ดอนทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งการตั้งถิ่นฐานในยุคแรกมักจะอยู่ที่ระดับความสูงกว่า 1,524 เมตร

นักวิจัยเผยว่า ในระยะยาวของการศึกษานี้จะช่วยให้ผู้คนเห็นคุณค่าความสำคัญของไก่งวงที่มีต่อวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองอเมริกันทั่วภาคตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ปัจจุบันผ้าห่มขนสัตว์โบราณเหล่านี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Edge
of the Cedars State Park ในเมืองแบลนดิง รัฐยูทาห์.

Credit :Washington State University